เวลา...เป็นสิ่งเดียวในโลก ที่ทุกคนได้รับเสมอกัน ไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันเลยแม้แต่คนเดียว ..แต่ใครจะใช้เวลาในแต่ละวินาทีอย่างมีค่า และคุ้มค่ากว่ากัน..นี่แหละ..เป็นเรื่องน่าคิด

ความเครียดจากการเมือง

กลุ่มอาการเครียดจากการเมือง ( Political Stress Syndrome : PSS ) ไม่ใช่โรค ที่เกิดจากปัญหาทางสุขภาพจิต แต่เป็นปฏิกิริยาของอารมณ์และจิตใจ ที่เกิดขึ้น กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่มีความสนใจปัญหาทางการเมือง ติดตามสถานการณ์การเมืองอย่างใกล้ชิด หรือ เอนเอียงไปทางกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จนทำให้มีอาการทางกาย จิตใจ และกระทบต่อสัมพันธภาพกับผู้อื่น ที่สำคัญคือความคิดคาดการณ์ที่นำไปสู่ความรู้สึกวิตกกังวล หรือกังวลต่อเหตุการณ์ในอนาคต(anticipatory anxiety) เช่น กลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงเฉกเช่นอุบัติการณ์ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นพฤษภาทมิฬ มหาวิปโยคสิบสี่ตุลาหนึ่งหก(14 ต.ค 2516) เหตุการณ์รุนแรงในวันที่ 6 ตุลาคม 2518 เป็นความหวั่นวิตกที่แฝงอยู่ในใจคนส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะคนที่คลั่งไคล้การเมือง คอยติดตามข่าวสารและได้รับข้อมูลการวิเคราะห์เจาะลึกอยู่เนือง ๆ ทั้งข้อมูลที่ผ่านและไม่ผ่านการกลั่นกรองอุบัติการณ์
- 1 ใน 4 ของประชากร ขณะนี้มีปัญหาสุขภาพจิต
- บุคคลที่มีความเสี่ยง
1. กลุ่มนักการเมือง
2. กลุ่มสนับสนุนทั้ง 2 ฝ่าย
3. กลุ่มผู้ติดตาม
4. กลุ่มผู้สนใจข่าวสารการเมือง
5. กลุ่มผู้มีปัญหาสุขภาพจิตลักษณะกลุ่มอาการ1. อาการทางกาย
- ปวดศีรษะ, ปวดกล้ามเนื้อ, ตึงบริเวณขมับ,ต้นคอ หรือตามแขน ขา
- นอนไม่หลับ, หลับๆตื่นๆ หรือหลับแล้วตื่นกลางคืนไม่สามารถหลับต่อได้
- ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติทั้งที่อยู่ในสภาพปกติ
- หายใจไม่อิ่ม อึดอัดในช่องท้อง
- แน่นท้อง ปวดท้อง อึดอัดในช่องท้อง
- ชา ตามร่างกาย2. อาการทางใจ
- วิตกกังวล ครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา
- หงุดหงิดง่าย โกรธ ฉุนเฉียว ก้าวร้าว
- เบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดหวัง สิ้นหวัง รู้สึกไม่มีทางออก
- สมาธิไม่ดี ฟุ้งซ่านหรือหมกมุ่นมากเกินไป3. ปัญหาพฤติกรรมและสัมพันธภาพกับผู้อื่น
- มีการโต้เถียงกันกับผู้อื่น หรือแม้แต่บุคคลในครอบครัวโดยใช้อารมณ์ตั้งแต่ปานกลาง ถึงรุนแรง โดยไม่สามารถยับยั้งตนเองได้
- มีความคิดที่จะตอบโต้โดยใช้กำลังในการเอาชนะ
- มีการลงมือทำร้ายร่างกายเพื่อตอบโต้
- มีการเอาชนะทางความคิดกับคนที่เคยมีสัมพันธภาพที่ดีมาก่อนจนทำให้เกิดปัญหาด้านสัมพันธภาพอย่างรุนแรงหากมีอาการเหล่านี้ในทั้ง 3 กลุ่มอาการ แนะนำให้ปฏิบัติ ดังนี้
1. หันเหความสนใจไปเรื่องอื่น
2. ลดความสำคัญของปัญหาลงมาชั่วขณะ ให้ความสำคัญกับเรื่องเร่งด่วน ตามหลักอื่นๆบ้าง
3. หาทางระบายออกโดยเลือกผู้ที่มีแนวคิดใกล้เคียงกัน
4. ออกกำลังกายและพักผ่อน
5. ฝึกวิชาผ่อนคลายตัวเอง เช่น
- ฝึกสติและสมาธิ
- ฝึกโยคะ
- ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เช่น การกำหนด ลมหายใจเข้า - ออก
6. หันหาวิธีการที่ทำให้สงบ อาจจะใช้ศาสนามาช่วยขัดเกลาจิตใจ เพื่อปล่อยวาง
ซึ่งอาการดังกล่าวจะหายไปได้เอง เมื่อสถานการณ์คลี่คลายลง หรือละความสนใจในเรื่องอื่นบ้าง หากมีอาการทั้งหมดเกินกว่า 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ศึกษาความรู้เพิ่มเติมหรือขอรับบริการปรึกษา ได้ที่
- www.dmh.go.th
- คลินิกคลายเครียด ในสถานบริการสุขภาพจิตทั่วประเทศ
- โทรศัพท์สายด่วน 1323 รวม 17 คู่สาย ในกรณีที่สายไม่ว่างหรือติดต่อไม่ได้ ให้ฝากข้อความได้ที่ โทรศัพท์อัตโนมัติ หมายเลข 1667 (140 คู่สาย)
- บริการให้การปรึกษาผ่านระบบอิเลคโทรนิก (msn) ทาง e-mail address : counseling_sty@hotmail.com จันทร์ - ศุกร์ (16.00 – 24.00 น.) และ เสาร์ - อาทิตย์ (08.00 – 24.00 น.)

อาหารและอารมณ์

สถิติที่ได้จากการสำรวจแสดงให้เราเห็นชัดเจนว่า จำนวนนักโทษที่ถูกคุมขังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเรื่องนี้ต่างก็พยายามค้นหายุทธวิธีที่จะลดจำนวนผู้ประพฤติมิชอบเหล่านี้ เช่น นักการเมืองหรือนักปกครองบางคนก็เชื่อว่า มาตรการที่เข้มงวดและบทลงโทษที่หนักคือ มาตรการหนึ่งที่จะลดจำนวนอันธพาลหรือฆาตกรได้ คือ ใครผิดก็ต้องถูกจับ ใครฆ่าก็ต้องถูกประหาร เป็นต้น แต่ถ้าเราจะถามหาสาเหตุว่า อะไรทำให้คนประพฤติผิด เราก็จะได้คำตอบที่หลากหลายเช่น พันธุกรรมหรือสันดาน เพราะได้มีการสำรวจพบว่าฆาตกรมักเป็นสมาชิกของครอบครัวที่แตกสลาย หรือคนที่ขโมยเพราะคนนั้นขาดความอบอุ่นที่สมควรจะได้จากพ่อแม่หรือความยากจนทำให้เขาต้องวิ่งราว เป็นต้น อ่านต่อคลิก จากเว็บสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์

ผลวิจัยล้างภาพเด็กติดเกมเสียสุขภาพ

นักวิจัยอเมริกันโต้แย้งความเชื่อผิดๆ ยันเด็กที่เอาแต่เล่นเกมไม่ได้อ้วนฉุ หลายคนมีรูปร่างดีกว่าเด็กทั่วไปด้วยซ้ำ ผู้เล่นเกมออนไลน์ "EverQuest II" จำนวนกว่า 7,000 คน ได้ตอบคำถามนักวิจัยเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเอง ผู้วิจัยพบว่า ดัชนีมวลกายของบรรดาเกมเมอร์มีแนวโน้มต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยในสหรัฐ และจำนวนมากมีการออกกำลังกายที่เหมาะสมมากกว่าสัปดาห์ละครั้งอย่างไรก็ดี รายงานซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร New Scientist ระบุว่า นักเล่นเกมมีอาการซึมเศร้ามากกว่าค่าเฉลี่ยความนิยมที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ทำให้มีการศึกษาถึงผลของกิจกรรมแบบนี้ต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของคนในกลุ่มที่มีการเล่นมากที่สุดบางเสียงบอกว่า การเล่นเกมมากเกินไปจะทำให้เป็นโรคอ้วน และเกิดปัญหาทางจิตใจและสังคม อ่านต่อ จากเว็บกรมสุขภาพจิต

อีคิวกับการเลี้ยงลูกให้ฉลาด

สังคมปัจจุบันนี้ให้ความสำคัญกับการมีความฉลาดทางอารมณ์มาก แต่ก่อนถ้าพูดถึงคำว่า “ความฉลาด” แล้ว เราก็มักจะพูดถึงเรื่องไอคิวกันเท่านั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่นะคะ เป็นเรื่องที่มีการกล่าวถึงมานานแล้ว แต่วันนี้เพียงต้องการมาทบทวนกันอีกครั้ง ถือคติว่า เรื่องบางเรื่องถ้าต้องการให้คงความสำคัญต่อเนื่องยาวนาน ก็ต้องมีการกล่าวทบทวนและนำเสนอกันเรื่อยๆเป็นระยะ เพื่อป้องกันการลืมค่ะ ทีมงานกรมสุขภาพจิตก็ถือคตินี้เช่นกัน จึงขอนำเสนอเรื่องของความฉลาดทางอารมณ์อีกครั้งหนึ่ง จากเว็บกรมสุขภาพจิต

วิธีสังเกตระดับของจิตใจ

จิตใจของคนส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางได้แก่ ระดับสี่ ห้า หรือหก ซึ่งดูปกติ แต่แท้จริงแล้วจิตใจในระดับปานกลางเป็นระดับที่การยึดติดกับอัตตากำลังค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้น พวกเขาจะรู้จักตัวตนที่แท้จริงแค่เพียงเล็กน้อยและการปกป้องอัตตาของตนกำลังกลายเป็นกิจวัตรประจำวันที่สำคัญที่สุด ในเวลาเดียวกันชีวิตประจำวันและสิ่งแวดล้อมรอบข้างก็ดูจะไม่เข้าข้างพวกเขาเสียเลย ผลที่ได้ก็คือการที่จะต้องคอยกดดันและบังคับตนเองและคนรอบข้างอยู่ตลอดเวลา ความปาดหมางและการกระทบกระทั้งก็เกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่องเวลาที่ระดับจิตใจกำลังเคลื่อนจากระดับสูงเข้าสู่ระดับกลาง จะมีสัญญาณเกิดขึ้นเรียกว่า สัญญาณนาฬิกาปลุก ซึ่งจะมีข้อสังเกตที่แตกต่างกันไปในแต่ละไทป์ ตัวอย่างเช่น สัญญาณนาฬิกาปลุกของไทป์เก้าได้แก่ ความรู้สึกในจิตใจที่ต้องการหลีกหนีความขัดแย้งกับคนรอบข้างด้วยการยอมตามคนอื่น เมื่อสัญญาณนี้เกิดขึ้นเมื่อไทป์เก้ารู้สึกว่าต้องตอบตกลงทั้งที่ไม่เห็นด้วย และกดเก็บความไม่เห็นด้วยต่างๆ เอาไว้จนทนไม่ไหว อ่านต่อคลิก จากเว็บ Ennragram

บุคลิกภาพเก้าแบบ

ลักษณะทั่วไปแรงจูงใจความถูกต้อง เสมอต้นเสมอปลาย และสมดุล การพัฒนาที่ดีขึ้น การปรับปรุงคนอื่น ความสอดคล้องกับอุดมคติของตน การพิสูจน์ตัวเอง การอยู่เหนือคำวิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ การไม่ถูกคนรอบข้างประณาม ผู้เคร่งศาสนาที่ปรารถนาที่จะไปเกิดใหม่ในภพที่ดี และทำอะไรตามหลักอย่างเคร่งครัดเป็นตัวอย่างของผู้มีบุคลิกของไทป์ "ไทป์หนึ่ง" พวกเขาไม่เคยพอใจที่ตัวเองเป็นอยู่ และต้องการที่จะพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ พวกเขาหวังที่จะเหนือคนทั่วไป เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ ในความคิดของพวกเขา คนเรายังพยายามไม่เต็มที่ที่จะทำทุกอย่างให้ดีขึ้น ความคิดที่ว่า ไม่ว่าเราจะเป็นอะไรไป ก็ไม่ได้ทำให้โลกหยุดหมุน เป็นความคิดที่ฟังไม่เข้าหูสำหรับ "ไทป์หนึ่ง"ตัวอย่างบุคคลPope John Paul II, Mahatma Gandhi, Margaret Thatcher, Al Gore, Elie Wiesel, Barbara Jordan, Bill Moyers, Katharine Hapburn, Harrison Ford, Ralph Nader , Sandra Day O'Conner, William F. Buckley, Noam Chomsky, George Bernard Shaw, Joan of Arc, "Mr. Spock"กับสัญชาตญาณ"ไทป์หนึ่ง" เผยสัญชาตญาณ และแรงขับดันในใจน้อยเกินไป พวกเขาขยันทำกิจกรรมเหมือน "ไทป์แปด" แต่ในขณะที่ "ไทป์แปด" คุมบังเหียน สัญชาตญาณ และแรงขับของตัวเอง "ไทป์เก้า" หลีกหนีมัน "ไทป์หนึ่ง" กำลังกดมันไว้ภายใน เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายที่ superego ของพวกเขาต้องการ พวกเขามีไฟอยู่เต็มเปี่ยม แสดงความคิด และศรัทธาออกมาอย่างแรงกล้า แต่พวกเขามันรู้สึกว่าต้องตรวจสอบไฟเหล่านั้นก่อน มิฉะนั้นมันคงมากมายจนล้น

หลักการพัฒนาตนเอง

เมาเพศ หมดราคา
เมาสุรา หมดสำคัญ
เมาการพนัน หมดตัว
เมาเพื่อชั่ว หมดดีฯ

หลักธรรมสำหรับพัฒนาตนเองให้มีความเสียสละ เมตตากรุณา กตัญญูกตเวทีและสามัคคี

จุดประสงค์ เมื่อศึกษาเรื่องหลักธรรมสำหรับพัฒนาตนเองให้มีความเสียสละ เมตตากรุณา กตัญญูกตเวที และสามัคคี จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. บอกความหมายและความสำคัญของความเสียสละ เมตตากรุณา กตัญญูกตเวที และสามัคคีได้ถูกต้อง
2. อธิบายความต้องการและความจำเป็นของสังคมไทยที่ต้องมีสมาชิกของสังคมที่มีความเสียสละ เมตตากรุณา กตัญญูกตเวที และสามัคคีได้อย่างมีเหตุผล
3. บอกหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติสำหรับพัฒนาตนเองให้มีความเสียสละ เมตตากรุณา กตัญญูกตเวที และสามัคคีได้ถูกต้อง
4. ระบุข้อปฏิบัติของหลักธรรมสำหรับพัฒนาตนเองให้มีความเสียสละ เมตตากรุณา กตัญญูกตเวที และสามัคคีได้ถูกต้องครบถ้วน
ความหมายของความเสียสละ เมตตากรุณา กตัญญูกตเวที และสามัคคี
ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ 2542 (2546: 1223, 872,70, 6, 1178) อธิบายว่า “เสียสละ” หมายถึงการให้โดยยินยอมให้ด้วยความเต็มใจ ตรงกับหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาว่า “ทาน” และคำนี้มีปรากฎอยู่ในหลักธรรมคำสอนหลายหลักธรรมคำสอน
“เมตตากรุณา” หมายถึงความรัก ความเอ็นดู ความปรารถนาจะให้ผู้อื่นได้สุข และคำว่า“กรุณา” หมายถึง ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ เป็นข้อปฏิบัติใน หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาที่จะทำให้มนุษย์กลายเป็นพระพรหมเรียกว่า “พรหมวิหาร”
“กตัญญู” หมายถึง ผู้รู้ในอุปการะคุณที่ท่านทำให้ คือรู้คุณท่าน เป็นคำที่คู่กันกับคำว่า “กตเวที” ซึ่งหมายถึงการสนองคุณท่าน หรือ ผู้ประกาศคุณท่าน
“สามัคคี” หมายถึง ความพร้อมเพรียง ความปรองดองกัน ร่วมมือร่วมใจกันทำ
ความสำคัญของความเสียสละ เมตตากรุณา กตัญญูกตเวทีและสามัคคี
สังคมไทยเป็นสังคม ที่ต้องการความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะ เพื่อสร้างความสมานฉันท์ และสิ่งที่จะช่วยให้เกิดสิ่งที่สังคมปรารถนาได้ ก็คือ หลักธรรมเกี่ยวกับความเสียสละ เมตตากรุณา กตัญญูกตเวที และสามัคคีนั่นเอง
ในหลักธรรมที่กล่าวมาแล้ว เป็นหลักธรรมที่ต้องเริ่มปฏิบัติ เพื่อการพัฒนาตนเอง ให้เป็นบุคคลที่มีความงามเป็นเบื้องต้นในทางกาย ทางวาจา และทางใจ ส่วนหลักธรรมที่จะกล่าวต่อไปเป็นหลักธรรมที่จะต้องนำไปปฏิบัติแก่สังคม การที่ต้องเริ่มต้นจากตนเองก็เพราะ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนให้คนพึ่งตนเอง ดังสุภาษิตที่ว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” และสุภาษิตคำกลอนที่ว่า

ตนเตือนใจของตนให้พ้นผิด ตนเตือนจิตตนได้ใครจะเหมือน
ตนเตือนตนไม่ได้ใครจะเตือน คนแชเชือนใครจะช่วยให้ป่วยการ
ดังนั้น เมื่อสามารถเตือนตน รักษาตนให้อยู่ในกรอบของศีล ดีแล้ว จึงควรมองดูผู้อื่น และทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น โดยการเสียสละ มีความเมตตากรุณาต่อผู้อื่น สัตว์อื่น มีความกตัญญูกตเวที ต่อผู้มีอุปการะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กตัญญูต่อแผ่นดิน และสร้างความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้นในสังคม หลักธรรมนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสังคม