เวลา...เป็นสิ่งเดียวในโลก ที่ทุกคนได้รับเสมอกัน ไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันเลยแม้แต่คนเดียว ..แต่ใครจะใช้เวลาในแต่ละวินาทีอย่างมีค่า และคุ้มค่ากว่ากัน..นี่แหละ..เป็นเรื่องน่าคิด

7 วิธีทำให้ผลงานของคุณเข้าตาเจ้านาย

1.เลี่ยงการปฏิเสธ คุณจะได้รับความชื่นชมหากเป็นคนไม่เกี่ยงงาน

2.สงบเสงี่ยมเจียมปากเข้าไว้ หากเจ้านายทำผิดพลาด แล้วเรามองข้ามเหมือนเป็นการถนอมน้ำใจกันอย่างหนึ่ง พูดอะไรออกไปเท่ากับหักหน้าเขา ทำให้คุณหมดอนาคตในหน้าที่การงานเสียเปล่าๆ

3.มีความรับผิดชอบสูง รู้ว่างานของตัวเองคืออะไร ทำหน้าที่รับมอบหมายมาให้ดีที่สุด ไปยุ่งงานคนอื่นเพื่อให้เจ้านายเห็นผลงานไม่เป็นการดีหรอก ทำให้เหมือนว่างานที่ทำอยู่นั้นน้อยเกินไป ทำให้คุณว่างจนไปยุ่มย่ามกับงานคนอื่น

4.อย่างเถียงเป็นอันขาด แม้ว่าคุณเป็นฝ่ายถูก เขาอาจไม่ได้กุมอำนาจสูงสุด แต่การเลื่อนขั้น ขึ้นเงินเดือน อยู่ภายใต้การสนับสนุนของเขา ฉะนั้นเลี่ยงได้เลี่ยงไป เปลี่ยนการเถียงเป็นการชี้แจงดีกว่า

5.รู้ว่าตัวเองควรทำคะแนนเวลาไหน ต้องระวังด้วยว่า การนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ของคุณไม่ได้เป็นการทำให้เจ้านายเสียหน้า การแสดงตัวว่าเก่งกาจกว่าคนอื่นๆ โดยเฉพาะเจ้านายจะทำลายความก้าวหน้าของคุณได้

6.กำจัดนิสัยช่างนินทา เพราะพฤติกรรมแบบนี้เหมือนกับแทงผู้อื่นข้างหลัง อย่านินทาเจ้านาย เพราะคุณไม่มีทางรู้เลยว่า ความจะไปถึงหูของเจ้านายเมื่อไร

7.อย่าข้ามหน้าข้ามตาเจ้านาย ไม่ว่าจะทำงานออกมาดีเลิศขนาดไหนไม่ควรเอาผลงานไปให้เจ้านายคนอื่นดูโดยที่ ไม่ได้ผ่านตาเจ้านายตัวเองก่อน นอกจากเป็นการไม่ให้เกียรติแล้ว ยังจะทำให้เขาเหม็นหน้าคุณเปล่าๆ


ที่มา : http://www.pattanakit.net/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=90

15 วิธีแก้ "เบื่อ" ก่อนปล่อยให้ปัญหาเรื้อรังทำลายสุขภาพ

เริ่มต้นการทำงานกับเช้าวันจันทร์กันอีกแล้ว หลาย ๆ คนอาจยังไม่พร้อมสำหรับการลุกขึ้นสู้ในวันนี้ รวมถึงอาจมีอาการเบื่อหน่าย อยากนอนพักต่ออีกสักงีบ หรืออีกสักวัน แต่อย่าปล่อยให้ความเบื่อทำร้ายสุขภาพค่ะ เพราะมีการวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญจาก University College London ระบุว่า การที่คนเราปล่อยให้ชีวิตน่าเบื่อหน่าย ไม่มีไฟในการทำสิ่งต่าง ๆ นั้นจะดึงคุณให้หันไปหาพฤติกรรมที่ทำร้ายสุขภาพตัวเองได้ในที่สุด ยกตัวอย่างเช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ เสพยาเสพติด หรือมีปัญหาด้านพฤติกรรม - การเข้าสังคม ที่เลวร้ายกว่านั้นคือ ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้อาจทำให้คุณเสียชีวิตได้ตั้งแต่อายุยังน้อยอีกด้วย

ที่น่าแปลกใจก็คือ ผลการวิเคราะห์แบบสอบถามที่ตอบโดยกลุ่มอาสาสมัครอายุระหว่าง 35 - 55 ปีจำนวน 7,000 คนในช่วงปี ค.ศ. 1985 - 1988 นั้นพบว่า กลุ่มผู้หญิงเป็นกลุ่มที่มีอาการเบื่อหน่ายในชีวิตสูงสุด

อย่างไรก็ดี มีแนวทางที่ช่วยลดอาการเบื่อลงได้ ซึ่งทางเว็บไซต์ zenhabits.net ได้รวบรวมเอาไว้ 15 ข้อดังนี้

1. หาความท้าทายใหม่ ๆ ให้ชีวิต หลายครั้งที่คนเราเกิดความรู้สึกเบื่อเป็นเพราะชีวิตไม่ได้พบกับความท้าทาย ใด ๆ เลย มีแต่งานรูทีนที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง คงจะดีหากคุณตั้งเป้าหมายใหม่ ๆ ให้กับของชีวิตให้ตัวเอง และพยายามพิชิตมันให้ได้ ถึงแม้ว่าจะไม่สำเร็จ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่อย่างน้อย ชีวิตคุณก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงบ้างแล้ว
2. มองหางานใหม่ หากวิเคราะห์แล้วว่าสิ่งที่ทำให้คุณเบื่อก็คืองานที่ทำ คุณอาจจำเป็นต้องคิดถึงการโยกย้ายเอาไว้บ้าง ซึ่งคำแนะนำของทางเว็บไซต์ระบุว่า ไม่จำเป็นต้องยื่นใบลาออกทันที แต่ให้ลองทำลิสต์รายชื่อของบริษัทที่น่าสนใจ-งานที่คุณคิดว่าจะไม่ทำให้คุณ เบื่อ อัปเดตประวัติการทำงาน และลองส่งออกไปก่อนดีกว่าออกมาเดินเตะฝุ่นเล่น ๆ
3. ตั้งเป้าหมายของชีวิต และจดออกมาเป็นข้อ ๆ ถึงสิ่งที่คุณต้องการจะทำให้สำเร็จให้ได้ก่อนที่คุณจะจากโลกนี้ไป ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับงานอย่างเดียว เป็นเรื่องของทัศนคติ มุมมอง หรือความต้องการใด ๆ ก็ได้ แต่หากเคยทำเอาไว้แล้ว ก็ลองหยิบมันขึ้นมาอ่านใหม่อีกสักครั้ง หรือเลือกเป้าหมายชีวิตสักข้อขึ้นมาทำให้สำเร็จในปีนี้
4. เคลียร์โต๊ะทำงาน เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีที่จะช่วยเปิดมุมมองใหม่ ๆ ให้กับชีวิต และได้ย้ายของที่ไม่จำเป็นออกไปเสียบ้าง หรืออาจใช้เวลานี้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน ลองคิดหาวิธีที่จะช่วยให้งานเสร็จเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น สิ้นเปลืองทรัพยากรน้อยลง
5. หางานอดิเรกที่ชื่นชอบมาทำ เช่น หาเวลาว่างอ่านหนังสือ เขียนบล็อก เล่นเกม เพื่อหาอะไรใหม่ ๆ ให้กับชีวิต แต่อย่าให้เบียดบังเวลางานจนกระทั่งถูกเพ่งเล็งจากคนรอบข้าง ควรใช้เวลาว่างก่อนหรือหลังเลิกงานทำงานอดิเรกเหล่านี้จะดีกว่า
6. สมัครคอร์สเรียนพิเศษหาความรู้ให้ตัวเอง ไม่จำเป็นว่าต้องเรียนในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่การงานเสมอไป อาจเป็นการเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มในวันเสาร์ - อาทิตย์ เรียนทำอาหาร เรียนศิลปะ เรียนคอมพิวเตอร์ หรืออะไรก็ได้ที่คุณสนใจ
7. ลาพักผ่อน เขียนใบลาพักร้อนสัก 1 - 2 วัน หนีความเบื่อหน่ายซ้ำซากในชีวิตก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้
8. เดินยืดเส้นยืดสาย
9. ดื่มน้ำเยอะ ๆ
10. โทรศัพท์ - เขียนจดหมายหาคนที่คุณรัก
11. จัดการไฟล์บนคอมพิวเตอร์ให้เป็นระเบียบ
12. เช็คเมลให้หมด หลายคนมีเมลค้างอยู่นับสิบนับร้อยฉบับ ไม่มีเวลาเช็ค ช่วงที่เบื่อ ๆ การเข้าไปเช็คเมลให้หมด ก็อาจได้ข้อมูล - แนวคิดดี ๆ จากเมลเหล่านั้นติดกลับมือออกมาบ้าง
13. วางแผนการเงิน หรือเปลี่ยนวิธีใช้เงินของตัวเอง จากที่เคยใช้หมดไม่เคยเหลือเก็บ ก็ลองมองหารูปแบบการเก็บเงินเหมาะ ๆ ให้กับตัวเอง นอกจากนี้ยังสามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในคอมพิวเตอร์-อินเทอร์เน็ต ในการช่วยบริหารจัดการรายได้ที่มีให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้นได้ด้วย (อย่างไรก็ดี ควรระวังการป้อนข้อมูลบางชนิดลงไปด้วย เช่น เลขบัตรเครดิต หมายเลขบัญชีธนาคาร ฯลฯ เพราะหากมีการรั่วไหลของข้อมูลแล้ว อาจกลายเป็นความสูญเสียทางการเงินได้)
14. อยู่ห่างจากคนหรือสถานการณ์ที่ทำให้เบื่อ แม้ว่าในชีวิตจริง คนเราจะไม่สามารถหลีกหนีคน-สถานการณ์ที่น่าเบื่อไปได้ แต่การไม่นำสิ่งเหล่านั้นมาคิดต่อก็เป็นการสร้างปราการขึึ้นในจิตใจและช่วย ให้คุณมีแรงใจในการทำงานมากขึ้น
15. เป็นอาสาสมัครช่วยเหลือคนอื่น เช่น ทำงานเป็นอาสาสมัครในโรงพยาบาล หรือช่วยเลี้ยงเด็กอ่อน ช่วยสอนหนังสือเด็ก ๆ เป็นต้น


ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์

นัยอันล้ำลึกของคำว่า “ขอบคุณ”

แก้วที่คว่ำอยู่กลางสายฝนต่อให้ฝนตกกระหน่ำทั้งคืน
ก็ไม่อาจเต็มไปด้วยน้ำคนที่ไม่ยอมเปิดใจเรียนรู้
ต่อให้คลุกคลีอยู่กับนักปราชญ์ทั้งคืนทั้งวันก็ยังโง่เท่าเดิม
นัยอันล้ำลึกของคำว่า “ขอบคุณ”
ขอบคุณความไม่รู้ ที่ทำให้รู้วิธีลุกขึ้นสู้ขอบคุณความยากจน ที่ทำให้เป็นคนมุมานะ
ขอบคุณความล้มเหลว ที่ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ
ขอบคุณความผิดพลาด ที่ทำให้ฉลาดยิ่งกว่าเดิม
ขอบคุณความริษยา ที่ทำให้กล้าสร้างสรรค์สิ่งใหม่
ขอบคุณคำวิพากษ์วิจารณ์ ที่ทำให้ผลิบานอย่างไร้ข้อตำหนิ
ขอบคุณความไม่รู้ ที่ทำให้รู้จักครูที่ชื่อประสบการณ์
ขอบคุณความผิดหวัง ที่ทำให้ตั้งสติเพื่อลุกขึ้นมาใหม่
ขอบคุณศัตรูที่แกร่งกล้า ที่ทำให้รู้ว่าเรายังไม่ใช่มืออาชีพ
ขอบคุณมหกรรมคอรัปชั่น ที่ทำให้เราอยากสร้างสรรค์การเมืองใหม่
ขอบคุณความป่วยไข้ ที่ทำให้เราตั้งใจดูแลสุขภาพ
ขอบคุณความทุกข์ที่ ทำให้เรารู้ว่าความสุขมีค่าแค่ไหน
ขอบคุณความพลัดพราก ที่ทำให้เราสละจากความยึดมั่น ถือมั่น
ขอบคุณเพลิงกิเลส ที่ทำให้เรามีเหตุอยากถึงพระนิพพาน
ขอบคุณความตาย ที่ทำให้ฉากสุดท้ายของชีวิตสมบูรณ์แบบ…
โดยท่าน ว. วชิรเมธี

คำพ่อสอน

” . . . ความเข้มแข็งในจิตใจนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะต้องฝึกฝนแต่เล็ก เพราะว่าต่อไปถ้ามีชีวิตที่ลำบาก ไปประสบอุปสรรคใด ๆ ถ้าไม่มีความเข้มแข็ง ไม่มีความรู้ ไม่มีทางที่จะผ่านอุปสรรคนั้นได้ เพราะว่าถ้าไปเจออุปสรรคอะไร ก็ไม่มีอะไรที่จะมาช่วยเราได้ แต่ถ้ามีความรู้ มีอัธยาศัยที่ดี และมีความเข้มแข็งในกาย ในใจ ก็สามารถที่จะผ่านพ้นอุปสรรคต่าง ๆ นั้นได้ ความเข้มแข็งในใจนั้น หมายความว่า ไม่ท้อถอย และไม่เกิดอารมณ์มาทำให้โกรธ อารมณ์นั้นก็คือ ความโกรธ ความฉุนเฉียว ความน้อยใจ ทั้งนี้เป็นสิ่งที่ทำให้คิดไม่ออก . . . ”
พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะครูและนักเรียนโรงเรียนราชวินิตวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๑๘