เวลา...เป็นสิ่งเดียวในโลก ที่ทุกคนได้รับเสมอกัน ไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันเลยแม้แต่คนเดียว ..แต่ใครจะใช้เวลาในแต่ละวินาทีอย่างมีค่า และคุ้มค่ากว่ากัน..นี่แหละ..เป็นเรื่องน่าคิด

ประวัติวันขึ้นปีใหม่

ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก
การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์
ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ 1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ 2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา 3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก 4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่ 1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ 2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร 3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น

วันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวามหาราช




วันพ่อแห่งชาติ ในประเทศไทยตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยจัดติดต่อกันทุกปีตั้งแต่ พ.ศ. 2523 โดยการริเริ่มของ นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา คุณหญิงเนื้อพิทย์ เสมรสุต สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันพ่อได้แก่ ดอกพุทธรักษาซึ่งมีชื่ออันเป็นมงคล
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หน้า 587) พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายคำว่า “พ่อ” ไว้ดังนี้
พ่อ หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกชายผู้ให้กำเนิดตน
พุทธศาสนา (สำนักคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ทรรศนะเกี่ยวกับสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์โดยสังเขป หน้า 1๐๐) ได้ให้ความหมายของคำว่า “พ่อ” หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูกมีใช้หลายคำ เช่น
- บิดา (พ่อ)
- ชนก (ผู้ให้กำเนิด)
- สามี (ผัวของแม่) เป็นต้น
โดยที่พ่อเป็นผู้มีพระคุณมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น “วันพ่อแห่งชาติ” ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดาทรงรักใคร่และห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบันรวมทั้งพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ เรืออากาศเอกวีรยุทธ ดิษยศริน พระสวามีในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์วลัยลักษณ์และพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น “พ่อ” ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรวงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้ ดังบทร้อยกรองเทิดพระเกียรติว่า

จากเว็บ.www.panyathai.or.th

คำขวัญวันเด็ก ในปีต่าง ๆ

คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ในปีต่าง ๆ
ความเป็นมา
ในปี พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจ
สำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา ได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาดังนี้
ปี พ.ศ.
ชื่อนายกรัฐมนตรี
คำขวัญของนายกรัฐมนตรี
2502
2503
2504
2505
2506
2507
2508
2509
2510
2511
2512
2513
2514
2515
2516
2517
2518
2519
2520
2521
2522
2523
2524
2525
2526
2527
2528
2529
2530
2531
2532
2533
2534
2535
2536
2537
2538
2539
2540
2541
2542
2543
2544
2545
2546
2547
2548
2549
2550
2551
2552
2553
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
จอมพล ถนอม กิตติขจร
จอมพล ถนอม กิตติขจร
จอมพล ถนอม กิตติขจร
จอมพล ถนอม กิตติขจร
จอมพล ถนอม กิตติขจร
จอมพล ถนอม กิตติขจร
จอมพล ถนอม กิตติขจร
จอมพล ถนอม กิตติขจร
จอมพล ถนอม กิตติขจร
จอมพล ถนอม กิตติขจร
นายสัญญา ธรรมศักดิ์
นายสัญญา ธรรมศักดิ์
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
นายอานันท์ ปันยารชุน
นายอานันท์ ปันยารชุน
นายชวน หลีกภัย
นายชวน หลีกภัย
นายชวน หลีกภัย
นายบรรหาร ศิลปอาชา
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
นายชวน หลีกภัย
นายชวน หลีกภัย
นายชวน หลีกภัย
นายชวน หลีกภัย
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ขอให้เด็กไทยในสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้าจงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า
ขอให้เด็กไทยในสมัยปฏิวัติของข้าพ เจ้าจงเป็นเด็กที่รักความสะอาด
ขอให้เด็กไทยในสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย
ขอให้เด็กไทยในสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด
ขอให้เด็กไทยในสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันมั่นเพียรมากที่สุด
(งดจัดงานวันเด็ก)
เด็กจะเจริญต้องรักเรียนและเพียรทำดี
เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะบากบั่นและสมานสามัคคี
อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรง เรียนดี มีความประพฤตเรียบร้อย
ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัยมีความเฉลียวฉลาด และรักชาติยิ่ง
รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ
เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส
ยามเด็กจงมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ
เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ
เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
สามัคคีคือพลัง
เด็กคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจ ร่วมพลังสร้างความดี
เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรืองจะต้องทำตัวให้ดี มีวินัยเสียแต่บัดนี้
รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย
เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติมั่นคง
เด็กไทยคือหัวใจของชาติ
ขยัน อดทน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
มีวินัยใจซื่อสัตย์ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม
ขยัน ศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัย และคุณธรรม
รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดี มีความคิด สุจริต ใจมั่น
สามัคคี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
นิยมไทย ใช้ประหยัด ใจซื่อสัตย์ ถือคุณธรรม
นิยมไทย ใช้ประหยัด ใจซื่อสัตย์ ถือคุณธรรม
นิยมไทย ใช้ประหยัด ใจซื่อสัตย์ ถือคุณธรรม
รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจซื่อสัตย์ ถือคุณธรรม
รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจซื่อสัตย์ ถือคุณธรรม
รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา
สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม
ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด
รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด
ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคต ที่สดใส
เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี
รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดี ๆ อนาคตดีแน่นอน
เด็กรุ่นใหม่ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด
อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด
มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข
สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม
ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี
คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม