การขยายพันธุ์พืช
ความหมายของการขยายพันธุ์พืช การขยายพันธุ์พืช ( Plant Propagation) หมายถึง การเพิ่มหรือทวีจำนวนต้นพืชให้มีมากขึ้นหรือหมายถึงการเพิ่มจำนวนพืชจากที่มีอยู่ แต่ไม่รวมถึงการเพิ่มจำนวนต้นพืชด้วยวิธีที่นำมาจากที่อื่น
การขยายพันธุ์พืชแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่
1. การขยายพันธุ์พืชโดยอาศัยเพศ ( Seed or Sexual propagation)
2. การขยายพันธุ์พืชโดยไม่อาศัยเพศ หรือใช้ส่วนต่างๆของต้น (Asexual propagation)
หลักการขยายพันธุ์พืช
การขยายพันธุ์พืชให้ประสบผลสำเร็จต้องมีความรู้ดังนี้ คือ
1. ต้องมีทักษะในการขยายพันธุ์พืช ผู้ที่จะทำการขยายพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นวิธีการตอนกิ่ง การต่อกิ่ง ติดตา และทาบกิ่ง จำเป็นที่จะต้องฝึกปฏิบัติหัดเพื่อให้เกิดความชำนาญ
2. ต้องรู้จักโครงสร้างภายในต้นพืชและนิสัยการเจริญเติบโตของพืชและควรมีความรู้พื้นฐานทาง ด้านพฤกษศาสตร์ พืชสวน พันธุศาสตร์ และสรีรวิทยาของพืช ความรู้พื้นฐานเหล่านี้มีส่วนช่วยให้การขยายพันธุ์ประสบผลสำเร็จอย่างมาก
3. ต้องรู้จักชนิดของพืชและวิธีการขยายพันธุ์ที่ให้ผลแน่นอน ซึ่งพืชแต่ละชนิดมีความยากง่ายในการขยายพันธุ์แตกต่างกัน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องทราบถึงเทคนิคต่างๆ ในพืชแต่ละชนิด ซึ่งความรู้อาจได้จากการศึกษาจากเอกสารทางวิชาการหรือจากผู้ที่มีประสบการณ์หรืออาจทำการศึกษาทดลองค้นคว้าด้วยตนเอง
ความสำคัญของการขยายพันธุ์พืช
1. ความสำคัญต่อการดำรงพันธุ์ของพืช การขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศมักทำให้เกิดการ กลายพันธุ์ ดังนั้นการที่จะคงพันธุ์พืชที่ดีไว้จึงจำเป็นที่จะต้องหาวิธีการขยายพันธุ์โดยวิธีการอื่นที่ไม่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยการขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศเช่น ตัดชำ ตอนกิ่ง ต่อกิ่งและทาบกิ่งเป็นต้น
2. เพื่อหาพันธุ์ใหม่ที่ดีกว่าเดิม เช่น การขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศ หรือใช้เมล็ดเพาะปลูก ถึงแม้จะทำให้ มีโอกาสกลายพันธุ์ได้มาก แต่การกลายพันธุ์อาจได้พันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะที่ดีกว่าเดิม เช่น ลำไยพันธุ์ต่างๆ ที่ปลูกในภาคเหนือ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่นำมาจากประเทศจีน ต่อมามีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นทำให้ได้ลักษณะพันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพดีกว่าพันธุ์เดิม
3. ความสำคัญต่ออาชีพเกษตร อาชีพเกษตรมีความผูกพันธ์กับการขยายพันธุ์พืชอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะสาขาพืช ไม่ว่าจะมีอาชีพปลูกพืชชนิดใด จะต้องเกี่ยวข้องกับการขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณอยู่ตลอดเวลา จึงควรอย่างยิ่งที่เกษตรกรสาขาพืชจะเรียนรู้หลักการและวิธีการขยายพันธุ์พืชที่ถูกต้อง และเหมาะสมเพื่อช่วยการประกอบอาชีพการเกษตรให้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
วิธีการขยายพันธุ์พืช
1. การตอนกิ่ง คือ การทำให้ส่วนของพืชเกิดรากในขณะที่ยังติดอยู่กับต้นแม่ คือ ทำให้เกิดรากพิเศษ (adventitious roots) เมื่อกิ่งออกรากดีแล้วก็ตัดไปปลูก ต้นพืชที่ปลูกและตั้งตัวได้ดีแล้ว จะกลายเป็นต้นพืชต้นใหม่ต่อไป สำหรับการตอนกิ่งเป็นวิธีการขยายพันธุ์ไม้ผลวิธีการหนึ่งที่นิยมทำกันมากเพราะสามารถกระทำได้โดยง่าย สะดวก และใช้อุปกรณ์น้อย
2. การตัดชำ คือ การตัดส่วนใดส่วนหนึ่งของต้น ใบ หรือรากของพืช แล้วนำมาชำไว้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดรากและยอด และพัฒนาเป็นพืชต้นใหม่ โดย
ที่ต้นใหม่มีลักษณะเหมือนต้นแม่ทุกประการ
3.การต่อกิ่งหรือการเสียบกิ่งคือการสอดส่วนของพืชหรือกิ่งพืชต้นหนึ่งลงบนต้นพืชอีกต้นหนึ่ง และส่วนทั้งสองของพืชจะเชื่อมประสานติดต่อกัน และเจริญไปเป็นพืชต้นใหม่ โดยส่วนที่อยู่ใต้รอยต่อจะทำหน้าที่เป็นรากดูดน้ำ และแร่ธาตุอาหาร เรียกว่า ต้นตอ (rootstock, understock, stock) และส่วนที่อยู่เหนือรอยต่อจะทำหน้าที่เป็นกิ่งก้านสาขาที่ให้ดอกและผลเร็วกว่ากิ่งพันธุ์ดี (Scion or cion)
4. การติดตาการนำเอาตาของกิ่งพันธุ์ที่ดีเพียงตาเดียวมาติดบนต้นตอ แผ่นตาอาจจะลอกเนื้อไม้ออกหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดพืช และวิธีการติดตา อาจเรียกการติดตาว่าการต่อตา (bud grafting)
5.การทาบกิ่ง คือ การนำต้นพืชสองต้น ซึ่งต่างก็ยังมีรากเหมือนกัน มาทำการเชื่อมติดเป็นต้นเดียว หลังจากที่รอยต่อเชื่อมกันสนิทดีและต้นตอมีรากในปริมาณที่มากพอจึงตัดกิ่งลงมาชำ
6.การแยก (Separation) คือ การแยกส่วนของพืชออกจากกัน เช่น การแยกหัวของหอมแบ่ง หรือการแยกกระจุกหัวของแกลดิโอลัส ส่วนการแบ่ง (Division) คือ การตัดออกเป็นชิ้นๆ แต่ละชิ้นมีตาซึ่งจะทำให้กำเนิดเป็นพืชต้นใหม่ขึ้น เช่น มันฝรั่ง เป็นต้น
ความหมายของการขยายพันธุ์พืช การขยายพันธุ์พืช ( Plant Propagation) หมายถึง การเพิ่มหรือทวีจำนวนต้นพืชให้มีมากขึ้นหรือหมายถึงการเพิ่มจำนวนพืชจากที่มีอยู่ แต่ไม่รวมถึงการเพิ่มจำนวนต้นพืชด้วยวิธีที่นำมาจากที่อื่น
การขยายพันธุ์พืชแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่
1. การขยายพันธุ์พืชโดยอาศัยเพศ ( Seed or Sexual propagation)
2. การขยายพันธุ์พืชโดยไม่อาศัยเพศ หรือใช้ส่วนต่างๆของต้น (Asexual propagation)
หลักการขยายพันธุ์พืช
การขยายพันธุ์พืชให้ประสบผลสำเร็จต้องมีความรู้ดังนี้ คือ
1. ต้องมีทักษะในการขยายพันธุ์พืช ผู้ที่จะทำการขยายพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นวิธีการตอนกิ่ง การต่อกิ่ง ติดตา และทาบกิ่ง จำเป็นที่จะต้องฝึกปฏิบัติหัดเพื่อให้เกิดความชำนาญ
2. ต้องรู้จักโครงสร้างภายในต้นพืชและนิสัยการเจริญเติบโตของพืชและควรมีความรู้พื้นฐานทาง ด้านพฤกษศาสตร์ พืชสวน พันธุศาสตร์ และสรีรวิทยาของพืช ความรู้พื้นฐานเหล่านี้มีส่วนช่วยให้การขยายพันธุ์ประสบผลสำเร็จอย่างมาก
3. ต้องรู้จักชนิดของพืชและวิธีการขยายพันธุ์ที่ให้ผลแน่นอน ซึ่งพืชแต่ละชนิดมีความยากง่ายในการขยายพันธุ์แตกต่างกัน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องทราบถึงเทคนิคต่างๆ ในพืชแต่ละชนิด ซึ่งความรู้อาจได้จากการศึกษาจากเอกสารทางวิชาการหรือจากผู้ที่มีประสบการณ์หรืออาจทำการศึกษาทดลองค้นคว้าด้วยตนเอง
ความสำคัญของการขยายพันธุ์พืช
1. ความสำคัญต่อการดำรงพันธุ์ของพืช การขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศมักทำให้เกิดการ กลายพันธุ์ ดังนั้นการที่จะคงพันธุ์พืชที่ดีไว้จึงจำเป็นที่จะต้องหาวิธีการขยายพันธุ์โดยวิธีการอื่นที่ไม่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยการขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศเช่น ตัดชำ ตอนกิ่ง ต่อกิ่งและทาบกิ่งเป็นต้น
2. เพื่อหาพันธุ์ใหม่ที่ดีกว่าเดิม เช่น การขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศ หรือใช้เมล็ดเพาะปลูก ถึงแม้จะทำให้ มีโอกาสกลายพันธุ์ได้มาก แต่การกลายพันธุ์อาจได้พันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะที่ดีกว่าเดิม เช่น ลำไยพันธุ์ต่างๆ ที่ปลูกในภาคเหนือ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่นำมาจากประเทศจีน ต่อมามีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นทำให้ได้ลักษณะพันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพดีกว่าพันธุ์เดิม
3. ความสำคัญต่ออาชีพเกษตร อาชีพเกษตรมีความผูกพันธ์กับการขยายพันธุ์พืชอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะสาขาพืช ไม่ว่าจะมีอาชีพปลูกพืชชนิดใด จะต้องเกี่ยวข้องกับการขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณอยู่ตลอดเวลา จึงควรอย่างยิ่งที่เกษตรกรสาขาพืชจะเรียนรู้หลักการและวิธีการขยายพันธุ์พืชที่ถูกต้อง และเหมาะสมเพื่อช่วยการประกอบอาชีพการเกษตรให้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
วิธีการขยายพันธุ์พืช
1. การตอนกิ่ง คือ การทำให้ส่วนของพืชเกิดรากในขณะที่ยังติดอยู่กับต้นแม่ คือ ทำให้เกิดรากพิเศษ (adventitious roots) เมื่อกิ่งออกรากดีแล้วก็ตัดไปปลูก ต้นพืชที่ปลูกและตั้งตัวได้ดีแล้ว จะกลายเป็นต้นพืชต้นใหม่ต่อไป สำหรับการตอนกิ่งเป็นวิธีการขยายพันธุ์ไม้ผลวิธีการหนึ่งที่นิยมทำกันมากเพราะสามารถกระทำได้โดยง่าย สะดวก และใช้อุปกรณ์น้อย
2. การตัดชำ คือ การตัดส่วนใดส่วนหนึ่งของต้น ใบ หรือรากของพืช แล้วนำมาชำไว้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดรากและยอด และพัฒนาเป็นพืชต้นใหม่ โดย
ที่ต้นใหม่มีลักษณะเหมือนต้นแม่ทุกประการ
3.การต่อกิ่งหรือการเสียบกิ่งคือการสอดส่วนของพืชหรือกิ่งพืชต้นหนึ่งลงบนต้นพืชอีกต้นหนึ่ง และส่วนทั้งสองของพืชจะเชื่อมประสานติดต่อกัน และเจริญไปเป็นพืชต้นใหม่ โดยส่วนที่อยู่ใต้รอยต่อจะทำหน้าที่เป็นรากดูดน้ำ และแร่ธาตุอาหาร เรียกว่า ต้นตอ (rootstock, understock, stock) และส่วนที่อยู่เหนือรอยต่อจะทำหน้าที่เป็นกิ่งก้านสาขาที่ให้ดอกและผลเร็วกว่ากิ่งพันธุ์ดี (Scion or cion)
4. การติดตาการนำเอาตาของกิ่งพันธุ์ที่ดีเพียงตาเดียวมาติดบนต้นตอ แผ่นตาอาจจะลอกเนื้อไม้ออกหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดพืช และวิธีการติดตา อาจเรียกการติดตาว่าการต่อตา (bud grafting)
5.การทาบกิ่ง คือ การนำต้นพืชสองต้น ซึ่งต่างก็ยังมีรากเหมือนกัน มาทำการเชื่อมติดเป็นต้นเดียว หลังจากที่รอยต่อเชื่อมกันสนิทดีและต้นตอมีรากในปริมาณที่มากพอจึงตัดกิ่งลงมาชำ
6.การแยก (Separation) คือ การแยกส่วนของพืชออกจากกัน เช่น การแยกหัวของหอมแบ่ง หรือการแยกกระจุกหัวของแกลดิโอลัส ส่วนการแบ่ง (Division) คือ การตัดออกเป็นชิ้นๆ แต่ละชิ้นมีตาซึ่งจะทำให้กำเนิดเป็นพืชต้นใหม่ขึ้น เช่น มันฝรั่ง เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น