เวลา...เป็นสิ่งเดียวในโลก ที่ทุกคนได้รับเสมอกัน ไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันเลยแม้แต่คนเดียว ..แต่ใครจะใช้เวลาในแต่ละวินาทีอย่างมีค่า และคุ้มค่ากว่ากัน..นี่แหละ..เป็นเรื่องน่าคิด

ความเครียดจากการเมือง

กลุ่มอาการเครียดจากการเมือง ( Political Stress Syndrome : PSS ) ไม่ใช่โรค ที่เกิดจากปัญหาทางสุขภาพจิต แต่เป็นปฏิกิริยาของอารมณ์และจิตใจ ที่เกิดขึ้น กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่มีความสนใจปัญหาทางการเมือง ติดตามสถานการณ์การเมืองอย่างใกล้ชิด หรือ เอนเอียงไปทางกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จนทำให้มีอาการทางกาย จิตใจ และกระทบต่อสัมพันธภาพกับผู้อื่น ที่สำคัญคือความคิดคาดการณ์ที่นำไปสู่ความรู้สึกวิตกกังวล หรือกังวลต่อเหตุการณ์ในอนาคต(anticipatory anxiety) เช่น กลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงเฉกเช่นอุบัติการณ์ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นพฤษภาทมิฬ มหาวิปโยคสิบสี่ตุลาหนึ่งหก(14 ต.ค 2516) เหตุการณ์รุนแรงในวันที่ 6 ตุลาคม 2518 เป็นความหวั่นวิตกที่แฝงอยู่ในใจคนส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะคนที่คลั่งไคล้การเมือง คอยติดตามข่าวสารและได้รับข้อมูลการวิเคราะห์เจาะลึกอยู่เนือง ๆ ทั้งข้อมูลที่ผ่านและไม่ผ่านการกลั่นกรองอุบัติการณ์
- 1 ใน 4 ของประชากร ขณะนี้มีปัญหาสุขภาพจิต
- บุคคลที่มีความเสี่ยง
1. กลุ่มนักการเมือง
2. กลุ่มสนับสนุนทั้ง 2 ฝ่าย
3. กลุ่มผู้ติดตาม
4. กลุ่มผู้สนใจข่าวสารการเมือง
5. กลุ่มผู้มีปัญหาสุขภาพจิตลักษณะกลุ่มอาการ1. อาการทางกาย
- ปวดศีรษะ, ปวดกล้ามเนื้อ, ตึงบริเวณขมับ,ต้นคอ หรือตามแขน ขา
- นอนไม่หลับ, หลับๆตื่นๆ หรือหลับแล้วตื่นกลางคืนไม่สามารถหลับต่อได้
- ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติทั้งที่อยู่ในสภาพปกติ
- หายใจไม่อิ่ม อึดอัดในช่องท้อง
- แน่นท้อง ปวดท้อง อึดอัดในช่องท้อง
- ชา ตามร่างกาย2. อาการทางใจ
- วิตกกังวล ครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา
- หงุดหงิดง่าย โกรธ ฉุนเฉียว ก้าวร้าว
- เบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดหวัง สิ้นหวัง รู้สึกไม่มีทางออก
- สมาธิไม่ดี ฟุ้งซ่านหรือหมกมุ่นมากเกินไป3. ปัญหาพฤติกรรมและสัมพันธภาพกับผู้อื่น
- มีการโต้เถียงกันกับผู้อื่น หรือแม้แต่บุคคลในครอบครัวโดยใช้อารมณ์ตั้งแต่ปานกลาง ถึงรุนแรง โดยไม่สามารถยับยั้งตนเองได้
- มีความคิดที่จะตอบโต้โดยใช้กำลังในการเอาชนะ
- มีการลงมือทำร้ายร่างกายเพื่อตอบโต้
- มีการเอาชนะทางความคิดกับคนที่เคยมีสัมพันธภาพที่ดีมาก่อนจนทำให้เกิดปัญหาด้านสัมพันธภาพอย่างรุนแรงหากมีอาการเหล่านี้ในทั้ง 3 กลุ่มอาการ แนะนำให้ปฏิบัติ ดังนี้
1. หันเหความสนใจไปเรื่องอื่น
2. ลดความสำคัญของปัญหาลงมาชั่วขณะ ให้ความสำคัญกับเรื่องเร่งด่วน ตามหลักอื่นๆบ้าง
3. หาทางระบายออกโดยเลือกผู้ที่มีแนวคิดใกล้เคียงกัน
4. ออกกำลังกายและพักผ่อน
5. ฝึกวิชาผ่อนคลายตัวเอง เช่น
- ฝึกสติและสมาธิ
- ฝึกโยคะ
- ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เช่น การกำหนด ลมหายใจเข้า - ออก
6. หันหาวิธีการที่ทำให้สงบ อาจจะใช้ศาสนามาช่วยขัดเกลาจิตใจ เพื่อปล่อยวาง
ซึ่งอาการดังกล่าวจะหายไปได้เอง เมื่อสถานการณ์คลี่คลายลง หรือละความสนใจในเรื่องอื่นบ้าง หากมีอาการทั้งหมดเกินกว่า 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ศึกษาความรู้เพิ่มเติมหรือขอรับบริการปรึกษา ได้ที่
- www.dmh.go.th
- คลินิกคลายเครียด ในสถานบริการสุขภาพจิตทั่วประเทศ
- โทรศัพท์สายด่วน 1323 รวม 17 คู่สาย ในกรณีที่สายไม่ว่างหรือติดต่อไม่ได้ ให้ฝากข้อความได้ที่ โทรศัพท์อัตโนมัติ หมายเลข 1667 (140 คู่สาย)
- บริการให้การปรึกษาผ่านระบบอิเลคโทรนิก (msn) ทาง e-mail address : counseling_sty@hotmail.com จันทร์ - ศุกร์ (16.00 – 24.00 น.) และ เสาร์ - อาทิตย์ (08.00 – 24.00 น.)

ไม่มีความคิดเห็น: