เวลา...เป็นสิ่งเดียวในโลก ที่ทุกคนได้รับเสมอกัน ไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันเลยแม้แต่คนเดียว ..แต่ใครจะใช้เวลาในแต่ละวินาทีอย่างมีค่า และคุ้มค่ากว่ากัน..นี่แหละ..เป็นเรื่องน่าคิด

บรรยากาศการอบรมการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน




เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ได้รับมอบหมายจากผู้บริหารให้ไปเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยโรงเรียนเราไปกัน ๓ คน คือ เราเอง คุณครูจิน และ ท่านรอง

บรรยากาศการอบรมเชิงปฏิบัติการ





นำภาพบรรยากาศบางส่วนจากคณะทีมงานสหวิชา ที่ได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำเนื้อหาสาระขึ้นบนเว็บไซต์สหวิชาดอทคอม ( http://www.sahavicha.com )มาฝากค่ะ

วันคุ้มครองโลก



ประวัติความเป็นมา วันคุ้มครองโลก (Earth Day)

โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งองค์การสหประชาชาติ (United Nations Environment Program หรือ "UNEP") ได้กำหนดให้ทุกวันที่ 22 เมษายนของทุกปีเป็น วันคุ้มครองโลก หรือ Earth Day (เอิร์ธเดย์) โดยผู้ที่ริเริ่มแนวคิด วันคุ้มครองโลก เป็นคนแรกก็คือ เกย์ลอร์ด เนลสัน (Gaylord Nelson) สมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกา

เมื่อปี พ.ศ.2505 เกย์ลอร์ด เนลสัน ได้ขอให้ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคนเนดี้ หยิบยกเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคนเนดี้ ก็เห็นด้วยและได้ออกทัวร์ทั่วประเทศ เป็นเวลา 5 วัน 11 รัฐ ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2506 ซึ่งการทัวร์ครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของการริเริ่ม วันคุ้มครองโลก

ต่อมาในปี พ.ศ.2512 วุฒิสมาชิกเนลสัน ได้ผลักดันให้มีการชุมนุม แสดงความคิดเห็นเรื่องสิ่งแวดล้อมในระดับประชาชนรากหญ้าทั่วประเทศ ทำให้เกิดเป็นกระแสตื่นตัวเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปทั่ว สหรัฐอเมริกา

เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2513 ประชาชนอเมริกันที่ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม กว่า 20 ล้านคน ได้พร้อมใจกันมาชุมนุม เพื่อประท้วงการเพิ่มขึ้นของมลภาวะ และการทำลายทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นโลก ผลจากการชุมนุมก่อให้เกิดการออกพระราชบัญญัติแก้ไขมลพิษในอากาศของสหรัฐ อเมริกา และมีการจัดตั้งสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้น จนในที่สุดก็มีการกำหนดให้วันที่ 22 เมษายน ของทุกปีเป็นวันคุ้มครองโลก หรือ "Earth Day" โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2513 เป็นต้นมา

ทั้งนี้ นิตยสาร อเมริกัน เฮริเทจ (American Heritage Magazine) ฉบับเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 ได้หวนรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า "เป็นเหตุการณ์ที่โดดเด่นที่สุดเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ ของประชาธิปไตย"

ประเทศไทยกับวันคุ้มครองโลก


เมื่อทั่วโลกต่างจัดกิจกรรมร่วมกันอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้ว ประเทศไทยเองก็ไม่ได้น้อยหน้า ได้เริ่มจัดให้มีการรณรงค์ วันคุ้มครองโลก ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2533 โดยโรงเรียนสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา และในปี พ.ศ.2533 นี้ ถือเป็นยุคเริ่มต้นของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หลังจาก สืบ นาคะเสถียร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งกระทำอัตวินิบาตกรรม และตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาก็ได้มีการรณรงค์อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวด ล้อมมาโดยตลอด เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติ ป่าไม้ และผลกระทบอันร้ายแรงจากการตัดไม้ทำลายป่า นอกจากนี้ก็ยังมีการจัดกิจกรรมรักษ์ธรรมชาติ เพื่อหารายได้เข้ามูลนิธิ สืบ นาคะเสถียร ผู้บุกเบิกด้านการอนุรักษ์ป่าไม้คนสำคัญของประเทศไทยอีกด้วย

เป้าหมายของวันคุ้มครองโลก

1. เพื่อลดอัตราการเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีอยู่อย่างหนาแน่นในบรรยากาศ

2. เพื่อกำจัดคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ซึ่งเป็นตัวทำลายสภาพโอโซนและก่อให้เกิดการสะสมความร้อนให้หมดสิ้นไป

3. เพื่ออนุรักษ์สภาพป่าที่เหลืออยู่ ทั้งที่เป็นป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบ

4. เพื่อห้ามการซื้อ-ขายสิ่งมีชีวิต ที่อาจทำให้ภาวะการเจริญพันธุ์ลดลงหรือหมดสิ้นไป

5. เพื่อคงสภาพระดับประชากรไว้ ให้อยู่ในสภาพที่สมดุลกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่

6. เพื่อสร้างพลังอำนาจจากองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกให้ร่วมกันปกป้องบรรยากาศ น้ำ และสภาพอื่น ๆ ให้พ้นจากการกระทำที่มิชอบของมนุษย์

7. เพื่อสร้างสำนึกที่จะรักษาโลกไว้ทั้งบุคคล ชุมชน และชาติ

กิจกรรมที่ปฏิบัติในวันคุ้มครองโลก

ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานทั่วโลกที่เห็นความสำคัญของ วันคุ้มครองโลก มากขึ้น จึงได้ร่วมกันรณรงค์ และจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ทุกคนตระหนักถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น

1. ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ทั่วทุกหนทุกแห่ง โดยเฉพาะแถบแอฟริกา เคนยา ไนจีเรีย และนามิเบีย

2. อนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ที่เหลืออยู่ในเมือง หมู่บ้าน และภูเขา

3. รณรงค์ให้มีการอนุรักษ์ป่าธรรมชาติ เพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและที่อยู่ อาศัยของสัตว์ป่า

4. เน้นการคุมกำเนิด เพื่อให้จำนวนประชากรได้คงอยู่ในระดับคงเดิม

5. ให้การศึกษาแก่เยาวชน และประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

6. ร่วมกันรักษาความสะอาดตามถนนหนทาง ชายหาด อุทยาน และสถานที่สาธารณะต่าง ๆ

7.รณรงค์ให้มีการคัดแยกขยะในแต่ละครัวเรือน เพื่อนำไปรีไซเคิล หรือนำกลับมาใช้ซ้ำ เป็นการลดปริมาณขยะ

ขอบคุณที่มา http://hilight.kapook.com

สงกรานต์



นางสงกรานต์นั้นเป็นธิดาของท้าวกบิลพรหม หรือท้าวมหาสงกรานต์ และเป็นนางฟ้าอยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช (สวรรค์ชั้นที่ 1 ในทั้งหมด 6 ชั้น) ซึ่งมีหน้าที่ในการรับศีรษะของท้าวกบิลพรหมแห่รอบเขาพระสุเมรุในแต่ละรอบปี หรือในวันสงกรานต์นั้นเอง โดยมีเกณฑ์กำหนดที่ว่าวันสงกรานต์ คือวันที่ 13 เมษายน ตรงกับวันใดก็ให้นางสงกรานต์ประจำวันนั้นเป็นผู้แห่ นางสงกรานต์มีทั้งหมด 7 องค์ ได้แก่
1. นางสงกรานต์ทุงษเทวี
ทุงษเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันอาทิตย์ ทัดดอกทับทิม มีปัทมราค (แก้วทับทิม) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ อุทุมพร (มะเดื่อ) อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ ขวาถือจักร พระหัตถ์ซ้ายถือสังข์ เสด็จไสยาสน์เหนือปฤษฎางค์ครุฑ
2. นางสงกรานต์โคราดเทวี
โคราดเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันจันทร์ ทัดดอกปีป มีมุกดาหาร (ไข่มุก) เป็นเครื่องประดับภักษาหาร คือ เตละ (น้ำมัน) อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า เสด็จประทับเหนือพยัคฆ์ (เสือ)
3. นางสงกรานต์รากษสเทวี
รากษสเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันอังคาร ทัดดอกบัวหลวง มีโมรา (หิน) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ โลหิต (เลือด) อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายถือธนู เสด็จประทับเหนือวราหะ (หมู)
4. นางสงกรานต์มัณฑาเทวี
มัณฑาเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันพุธ ทัดดอกจำปา มีไพฑูรย์ (พลอยสีเหลืองแกมเขียว) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ นมและเนย อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ ขวาถือเหล็กแหลม พระหัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า เสด็จไสยาสน์เหนือปฤษฎางค์คัสพะ (ลา)
5. นางสงกรานต์กิริณีเทวี
กิริณีเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดี ทัดดอกมณฑา(ยี่หุบ) มีมรกตเป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ ถั่วและงา อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือปืน เสด็จไสยาสน์เหนือปฏษฎางค์ชสาร (ช้าง)
6. นางสงกรานต์กิมิทาเทวี
กิมิทาเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันศุกร์ ทัดดอกจงกลนี มีบุษราคัมเป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ กล้วยและน้ำ อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือพิณ เสด็จประทับยืนเหนือมหิงสา (ควาย)
7. นางสงกรานต์มโหทรเทวี
มโหทรเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันเสาร์ ทัดดอกสามหาว (ผักตบชวา) มีนิลรัตน์เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ เนื้อทราย อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือจักร พระหัตถ์ซ้ายถือตรีศูล เสด็จประทับเหนือมยุราปักษา (นกยูง)
และนี่ก็คือเรื่องราวของนางสงกรานต์ทั้ง 7 องค์

นางสงกรานต์ปี 54 กิริณีเทวี ประวัติและคำทำนาย

กิริณีเทวี นางสงกรานต์ ปี 2554


เผยนางสงกรานต์ปี 54 ชื่อ กิริณีเทวี นั่งหลังช้าง มือซ้ายถือปืน พยากรณ์ปีนี้ดุ เกิดเหตุเภทภัยทั่วประเทศ

น.ส.ทัศชล เทพกำปนาท นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการพิเศษ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ปฏิทินหลวงวันสงกรานต์ ปี 2554 ปีใหม่ไทยปีนี้ตรงกับปีเถาะ นางสงกรานต์ มีนามว่า "กิริณี เทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่ว-งา พระหัตถ์ขวาทรงขอ พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จนั่งมาเหนือหลังกุญชร (ช้าง) เป็นพาหนะ ซึ่งจากคำทำนายค่อนไปทางร้ายมากกว่าดี

โดยวันที่ 14 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 5 เวลา 13 นาฬิกา 25 นาที 25 วินาที และวันที่ 16 เมษายน เวลา 17 นาฬิกา 31 นาที 12 วินาที เปลี่ยนจุลศักราชใหม่ เป็น 1373 วันอาทิตย์เป็นโลกาวินาศ น้ำฝนปีนี้ วันพุธ เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 600 ห่า นาคให้น้ำ 5 ตัว เกณฑ์ธัญญาหาร ผลาหาร มัจฉมังษาหาร จะบริบูรณ์ เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีปถวี (ดิน) น้ำงามพอดี

ทั้งนี้ คำทำนายตามตำราตรุษสงกรานต์ของ นายสมบัติ พลายน้อย ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2553 ระบุว่า นางสงกรานต์กิริณีเทวี นั่งมาบนหลังช้างซึ่งถือเป็นสัตว์ใหญ่ เป็นมงคลช่วยขับไล่สิ่งร้าย ๆ ให้ออกไปได้ และยังทัดดอกมณฑาเป็นดอกไม้ทิพย์อยู่บนสวรรค์ คนไทยโบราณเชื่อว่าจะช่วยพ้นวิกฤติจากหนักให้เป็นเบา ส่วนภักษาหารที่เป็นถั่วงา แสดงว่าพืชผลข้าวปลาอาหารยังมีความสมบูรณ์อยู่ ส่วนคำทำนายที่ว่าทหารจะมีชัยชนะแก่ข้าศึกศัตรู ก็น่าจะแสดงถึงความสงบสุขของบ้านเมืองในปีนี้ด้วย

ขณะที่ วันมหาสงกรานต์ 2554 ตรงกับวันพฤหัสบดี วันเนาตรงกับวันศุกร์ และวันเถลิงศกตรงกับวันเสาร์ รวมคำทำนายว่า จะ เกิดเหตุเภทภัยต่าง ๆ ความเจ็บไข้ ผู้คนล้มตาย แร้งกาจะเป็นโรค สัตว์ป่าจะเป็นอันตราย แต่แม่หม้ายจะมีลาภ และบรรดาทหารทั้งปวงจะมีชัยชนะแก่ข้าศึกศัตรู




ขอบคุณ ข้อมูลจาก campus.sanook.com และ guru.muslimthai.com

ฟ้องด้วยภาพ( วันเวลาผ่านไป ..เราทำอะไรบ้าง)






วันนี้ ได้รวบรวมภาพในรอบปี บางส่วน มาฟ้องด้วยภาพกัน อิอิ มาดูสิว่า เราทำกิจกรรมอะไรกันบ้าง หลังจาก การทำงาน ด้วยความรับผิดชอบ ทุ่มเท เอาใจใส่ เราได้รับอะไร .......

.......จากการทำงานในวันนั้นบ้าง

  1. .. ความภูมิใจ ....
  2. ความสำเร็จ...
  3. ได้ข้าวเกินความคาดหมาย....
  4. ได้เรียนรู้วิธีการเกี่ยวข้าว...
  5. ได้ช่วยเหลือเพื่อน...
  6. เพื่อนรักเรามากขึ้น...
  7. ได้เห็นดอกไม้สวยงาม..
  8. บริเวณโรงเรียนสะอาด ดูดี..
  9. ได้กระถางตอไม้แสนสวย..
  10. ได้ฝึกความอดทน...
  11. ได้เรียนรู้วิธีการจัดตกแต่งลูกโป่ง เตรียมงานวันเด็ก ..
  12. .และได้อะไรอีกมากมาย..

เก็บตก... การปฏิบัติการขยายพันธุ์พืช





ภาพเก่า มาเล่าใหม่ ให้นักเรียนดู สีหน้าตนเอง ขณะปฏิบัติการ ขยายพันธุ์พืช บางส่วนค่ะ ..สีหน้าแห่งความตั้งใจ...ใช่ไหมคะเด็กๆ?!!!
เด็กชายนัจจนันท์ บอกว่า " เมิ็ง..เลย ...กรู" !!!! หมายถึง ยอดไปเลยครู!!! ^_^

ตัวอย่าง ก.ค.ศ.1

ก.ค.ศ. 1/1
แบบเสนอขอรับการประเมิน
ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ
ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ หรือ เชี่ยวชาญพิเศษ ( ทุกตำแหน่ง)
-----------------------
ขอมีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ( งานเกษตร )
1. ข้อมูลผู้ขอรับการประเมิน
ชื่อ –สกุล
อายุ ปี อายุราชการ ปี เดือน
คุณวุฒิทางการศึกษา
1. วุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี ม.6 วิชาเอก ฝรั่งเศส-อังกฤษ
จากสถาบัน โรงเรียนอัสสัมชัญอุบลราชธานี
2. วุฒิปริญญาตรี ศึกษาศาสตร์บัณฑิต วิชาเอก การประถมศึกษา
จากสถาบัน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3. วุฒิสูงกว่าปริญญาตรี ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต วิชาเอก การบริหารการศึกษา
จากสถาบัน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
คุณวุฒิสูงสุด ปริญญาโท ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (ศษ.ม. ) วิชาเอก การบริหารการศึกษา
จากสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ตำแหน่ง ครู ตำแหน่งเลขที่. สถานศึกษาโรงเรียนอมรินทราวารี อำเภอ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรม / ส่วนราชการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ รับเงินเดือนอันดับ คศ. 2 ขั้น บาท
2. การรับราชการ
2.1 เริ่มรับราชการในตำแหน่ง อาจารย์ 1 ระดับ 3 วันที่ เดือน พ.ศ.
2.2 เคยดำรงตำแหน่ง /วิทยฐานะ ที่สำคัญ ดังนี้
รับเงินเดือน วัน เดือน ปี ตำแหน่ง ระดับ/อันดับ ขั้น(บาท)
29 มิถุนายน 2541 อาจารย์ 1 3
1 ตุลาคม 2544 อาจารย์ 1 4
1 ตุลาคม 2547 อาจารย์ 1 5
24 ธันวาคม 2547 ครู ค.ศ. 1
1 ตุลาคม 2551 ครู ค.ศ. 1
1 พฤศจิกายน 2551 ครู ค.ศ. 2
1 ตุลาคม 2552 ครู ค.ศ. 2
1 ตุลาคม 2552 ครู ค.ศ. 2
2.3 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปัจจุบัน เมื่อ วันที่ 24 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2547
ได้รับแต่งตั้งเป็นวิทยฐานะปัจจุบัน เมื่อวันที่ 1 เดือน พ.ศ.
2.4 เคยมีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะเดียวกันนี้ ครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ - เดือน - พ.ศ. –
3. การปฏิบัติงานในปีที่ขอรับการประเมิน
สายงานการสอน
1) ปฏิบัติการสอน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ( ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 )
1.1) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ( งานเกษตร)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1
1.2) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ( งานเกษตร)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2
1.3) กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ( อังกฤษ )ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
1.4) กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ( อังกฤษ )ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1
1.5) กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ( อังกฤษ )ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2
1.6) กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ( อังกฤษ )ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1
1.7) กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ( อังกฤษ )ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2
1.8) กิจกรรมชมรมภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
1.9) กิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์รุ่นกลาง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีท1ี่ -3
2) จำนวนชั่วโมงที่สอน (คาบ) ที่สอน 21 ชั่วโมง / สัปดาห์
3) ปฏิบัติหน้าที่ ครูที่ปรึกษา
3.1) ครูที่ปรึกษาชมรมภาษาอังกฤษระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
3.2) ครูที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนอมรินทราวารี
(ครูที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัดสุรินทร 
4) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่รับผิดชอบ
4.1) หัวหน้าหมวดกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์รุ่นกลาง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
5) หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ
5.1 ) หัวหน้าบริหารงานวิชาการโรงเรียนอมรินทราวารี
5.2) ประธานคณะกรรมการกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ( อังกฤษ )
5.3) อนุกรรมการกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี
5.4) การจัดระบบควบคุมภายในหน่วยงาน
5.5) งานสัมพันธ์กับชุมชน หมู่ 2 บ้านใหม่
5.6) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
5.7) การส่งเสริมและประสานงานการจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย
5.8) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
5.9) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้
5.10) การประสานร่วมมือ ในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น
5.11) การแนะแนวการศึกษา
5.12) การจัดทำสำมะโนผู้เรียน
5.13) งาน EIS การประชาสัมพันธ์งานการศึกษา
5.14) งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
5.15) งานแผนงาน
4. รายงานผลด้านที่ 1 คือ ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
ข้าพเจ้า ได้ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยเคร่งครัด ซึ่งข้าพเจ้าได้ปฏิบัติตนดังนี้
4.1 การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
4.11. ครูต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ พัฒนาบุคลิกภาพและ วิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติตน ดังต่อไปนี้ คือ การปฏิบัติตนตามวินัยของข้าราชการที่ต้องพึงปฏิบัติ ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับ มอบหมายจากผู้บังคับบัญชา ในแต่ละคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย โดยคำสั่งของทางราชการที่เกี่ยวข้องกับข้าพเจ้าและได้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เช่น คำสั่งมอบหมายงานจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3 คำสั่งมอบหมายงานจากสำนักงานเครือข่ายที่ 5 (โคกยาง – ทมอ)คำสั่งมอบหมายของโรงเรียนอมรินทราวารี เป็นต้น นอกจากนี้แล้วข้าพเจ้ามีวินัยในเรื่องการตรงเวลา ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่ตรงเวลา อุทิศเวลาการทำงานอย่างเต็มที่ เต็มกำลัง เต็มความสามารถ เพื่อส่งผลให้เกิดกับผู้เรียนและผลงานของสถานศึกษาให้มากที่สุด ในเรื่องการแต่งกาย ข้าพเจ้าได้ปฎิบัติใน
การแต่งกาย แต่งเครื่องแบบที่เหมาะสมตามกาลเทศะ เหมาะสมกับโอกาสต่าง ๆ สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกศิษย์และผู้พบเห็นได้เป็นอย่างดีการพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ ในการพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพนั้น ข้าพเจ้าได้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน เพื่อพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ ได้ร่วมอบรม ประชุม สัมมนาในด้านการพัฒนา กระบวนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นประจำ โดยเข้าอบรมทั้งจากหน่วยงานต้นสังกัดคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3 เข้ารับการอบรมพัฒนาตนเองจากหน่วยงานอื่น หรือหน่วยงานเอกชนจัดเป็นประจำสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพครูการพัฒนาบุคลิกภาพ ในการพัฒนาบุคลิกภาพของข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าได้พัฒนาตนเองในเรื่องบุคลิกภาพทั้งภายนอกและภายใน กล่าวคือบุคลิกภาพภายนอก ข้าพเจ้าได้พัฒนาตนเองในเรื่องเครื่องแบบเครื่องแต่งกายให้เหมาะสมสวยงามกับเวลาและโอกาส ข้าพเจ้าออกกำลังกายเพื่อรักษาสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ สร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีเพื่อนร่วมงานและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้เข้าร่วมอบรมกับโรงพยาบาลปราสาท เพื่อดูแลสุขภาพตนเองทั้งเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิต ส่วนบุคลิกภาพภายในนั้น ข้าพเจ้าได้เข้าอบรมพัฒนาจิตโดยการเข้าร่วมอบรมคุณธรรมจริยธรรมเพื่อกล่อมเกลาจิตใจ ให้เป็นผู้ที่รู้เหตุรู้ผล ตามหลัก ศีล สมาธิ และปัญญา ของหลักธรรมของศาสนา เป็นเพื่อเป็นเสริมสร้างกำลังใจของตนเองให้มีความเข้าใจในสภาวะจิตของตนเองการปรับปรุงวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีพครูซึ่งอยู่ในสังคมปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเพื่อเป็นการปรับปรุงวิสัยทัศน์ของตนเอง ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ ข้าพเจ้าได้ติดตามข่าวสารทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ รวมทั้งทางอินเตอร์เน็ต เพื่อปรับปรุงตนเองให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองเป็นประจำและสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้ที่รองรู้ ทันสมัย ทันเหตุการณ์ สามารถนำมาวิเคราะห์กำหนดเป้าหมาย แนวทางพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การอาชีพ และเทคโนโลยี
4.2.2 ครูต้องรัก ศรัทธาซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพและเป็นสมาชิกที่ดีของ
องค์การวิชาชีพข้าพเจ้าเป็นผู้หนึ่งที่ประกอบวิชาชีพครูซึ่งข้าพเจ้ามีความรักและศรัทธาในวิชาชีพครูได้
ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรัก ศรัทธา มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานและ
ข้าพเจ้าเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การวิชาชีพ
4.2.3 ครูต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ
ตามบทบาทหน้าที่โดยสมอหน้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่ครูโดยข้าพเจ้าได้แสดงความรัก เมตตาโดยให้ความเอาใจใส่ ส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า โดยได้แสดงพฤติกรรมดังต่อไปนี้ คือ สร้างความรู้สึกเป็นมิตร เป็นที่พึ่งพาและไว้วางใจได้ของศิษย์ ตอบสนองข้อเสนอแนะและการ
กระทำของศิษย์ในทางสร้างสรรค์ตามสภาพปัญหาความต้องการและศักยภาพของศิษย์ เสนอแนะ
และแนะแนวทางการพัฒนาของศิษย์ตามความถนัด ความสนใจและศักยภาพของศิษย์ นอกจากนี้
ข้าพเจ้าได้แสดงผลงานที่ภูมิใจของศิษย์ทั้งในและนอกสถานศึกษา
4.2.4 ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการ
ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ข้าพเจ้าได้อบรม สั่งสอนฝึกฝนสร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจโดยแสดงพฤติกรรมดังต่อไปนี้ คือ ข้าพเจ้าได้อบรม สั่งสอน ฝึกฝนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศิษย์อย่างมุ่งมั่นและ ตั้งใจ ข้าพเจ้าได้อบรมสั่งสอน ฝึกฝนและจัดกิจกรรมเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศิษย์อย่างเต็ม
ศักยภาพ อบรมสั่งสอน ฝึกฝนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศิษย์ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
4.2.5 ครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจาและจิตใจ
ข้าพเจ้าได้ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจโดยได้
แสดงพฤติกรรมดังต่อไปนี้ ข้าพเจ้าตระหนักว่าพฤติกรรมการแสดงออกของข้าพเจ้ามีผลต่อการพัฒนาพฤติกรรมของ ศิษย์อยู่เสมอ ข้าพเจ้าพูดจาสุภาพและสร้างสรรค์โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับศิษย์และสังคม ข้าพเจ้ากระทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี สอดคล้องกับคำสอนของตนและวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม
ของไทย
4.2.6 ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการข้าพเจ้าไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติ ปัญญา จิตใจ อารมณ์ และ
สังคมของศิษย์และผู้รับบริการ โดยข้าพเจ้าได้แสดงออกซึ่งพฤติกรรมดังต่อไปนี้ ข้าพเจ้าละเว้นการกระทำที่ทำให้ศิษย์เกิดความกระทบกระเทือนต่อจิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคมของศิษย  ข้าพเจ้าละเว้นการกระทำที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและร่างกายของศิษย  ละเว้นการกทำที่สกัดกั้นพัฒนาการทางสติปัญญา อารมณ์ จิตใจและสังคมของศิษย 
4.2.7 ครูต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับ ผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ ข้าพเจ้าให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาคโดยไม่แสวงหาประโยชน์อันเปน็ การหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ โดยแสดงพฤติกรรมดังต่อไปนี้ ข้าพเจ้าไม่รับหรือแสวงหาอามิสสินจ้างหรือผลประโยชน์อันมิควรจากศิษย์หรือ ผู้รับบริการ ข้าพเจ้าไม่ใช้ศิษย์เป็นเครื่องมือหาประโยชน์ให้กับตนโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีหรือความรู้สึกของสังคม
4.2.8 ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม
สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ข้าพเจ้าได้พึงช่วยเหลือครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์โดยแสดงพฤติกรรมดังต่อไปนี้ ข้าพเจ้าได้ให้ความร่วมมือแนะนำ ปรึกษาแก่เพื่อนครูตามโอกาสและความเหมาะสม ให้ความช่วยเหลือด้านทุนทรัพย์ สิ่งของ แด่เพื่อนครูตามโอกาสและความเหมาะสม รวมทั้งข้าพเจ้าได้เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำแนวทางวิธีการปฏิบัติตน ปฏิบัติงานเพื่อพัฒนา คุณภาพ ชีวิตของคนในชุมชน
4.2.9 ครูพึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยท์ รงเป็นประมุข ข้าพเจ้าได้ประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนร่วม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยข้าพเจ้าได้แสดงพฤติกรรมดังต่อไปนี้ ข้าพเจ้าได้รวบรวมข้อมูลและเลือกสรรภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมที่เหมาะสมมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ข้าพเจ้าได้เป็นผู้นำในการวางแผนและดำเนินการเพื่อนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรม รวมทั้งได้สนับสนุนส่งเสริมเผยแพร่และร่วมกิจกรรมทางประเพณีวัฒนธรรมของชุมชนอย่างสม่ำเสมอ ข้าพเจ้าได้ศึกษาวิเคราะห์ วิจัยภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อนำผลมาใช้ในการจัดกิจกรรมการสอน ข้าพเจ้าได้ร่วมรณรงค์กับนักเรียนเพื่อกระตุ้นให้คนในชุมชนได้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการจัดกิจกรรมประชาธิปไตยในโรงเรียน ในชั้นเรียน เพื่อเป็นส่งเสริมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
4.2 การปฏิบัติตนตามมาตรฐานการปฏิบัติงานผู้ประกอบวิชาชีพครู ในการปฏิบัติตนเพื่อตนเองไดต้ นตามมาตรฐานการปฏิบัติงานผปู้ ระกอบวิชาชีพครู ของข้าพเจ้านั้น ได้มีวิธีการปฏิบัติตนตามแผนปฏิบัติการตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ดังต่อไปนี้ แผนปฏิบัติการตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ...โปรดติดตามตอนต่อไป เนื่องจากเป็นตารางเอาลงยังไม่ได้ค่ะ ..ขออภัย.

ด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถ
ประวัติการเป็นวิทยากร.............
เป็นวิทยากรอบรมการสอนภาษาไทยให้กับครูในเขตสำนักงานการประถมศึกษา
เป็นวิทยากรอบรมลูกเสือชาวบ้าน
เป็นวิทยากรอบรมงานวิจัยในชั้นเรียน
วิทยากรการเขียนผลงานทางวิชาการ
เป็นวิทยากรการอบรมการใช้สื่อ ICT
เป็นวิทยากรการเขียนแผนบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เป็นวิทยากรการเขียนBest Practices
เป็นวิทยากรแกนนำหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
สุรินทร์ เขต 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
ความรู้ความสามารถ...................
การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
การใช้ INTERNET การใช้คอมพิวเตอร 
ตัวแทนครูที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกรหญิงจังหวัดสุรินทร์ ร่วมประกวดระดับสำนักงาน
เกษตร เขต 4 ขอนแก่น
6. การายงานด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน
ตามแบบ ก.ค.ศ. 3/1...........
ขอรับรองว่าข้อมูลดังกล่าวข้างต้นถูกต้อง และเป็นความจริง
(ลงชื่อ)..................................................... ผู้ขอรับการประเมิน
( นางสาวอารดา พันธ์วิไล )
ตำแหน่ง ครู คศ. 2 โรงเรียนอมรินทราวารี
วันที่ เดือน พ.ศ.
การตรวจสอบและรับรอง
การตรวจสอบและรับรองของผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
ได้ตรวจสอบแล้วรับรองว่าข้อมูลถูกต้องและเป็นความจริง
(ลงชื่อ)................................................
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนอมรินทราวารี
วันที่ เดือน พ.ศ.
การตรวจสอบของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือส่วนราชการ
ได้ตรวจสอบแล้ว
􀀲 มีคุณสมบัติตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 􀀃
􀀲 ขาดคุณสมบัติ (ระบุ).................................................
(ลงชื่อ)..................................... ผู้ตรวจสอบคุณสมบัติ􀀃
(..................................................)􀀃
ตำแหน่ง...........................................................
วันที่...............เดือน.........................พ.ศ.............
(ลงชื่อ)..........................................
(........................................)􀀃
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา / หัวหน้าส่วนราชการ(หรือผู้ได้รับมอบหมาย)
วันที่................เดือน......................พ.ศ................

ตัวอย่าง สารบรรณงาน ประกอบการประเมินด้าน 1,2

ภาพการประเมินด้าน 1,2







วันนี้ มีภาพ จาก การประเมิน ด้าน 1,2 มาฝากค่ะ หลังจาก ตั้งใจและรอคอยมาเป็นเวลานานพอสมควร ในที่สุด วันที่ตื่นเต้น ก็มาถึง ภูมิใจกับงานที่ทำและนำเสนอ อย่างภาคภูมิใจค่ะ

ตัวอย่าง ก.ค.ศ.3/1 แนะนำด้วยนะคะ

ก.ค.ศ. 3/1
แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน
ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ
ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ หรือ เชี่ยวชาญพิเศษ ( ทุกตำแหน่ง)
-----------------------
ขอมีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
สาขา/สาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ .......................................
1. ข้อมูลผู้ขอรับการประเมิน
ชื่อ –สกุล
อายุ ปี อายุราชการ ปี เดือน
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ ตำแหน่งเลขที่.
สถานศึกษา อำเภอ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
กรม / ส่วนราชการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รับเงินเดือนอันดับ คศ. 2 ขั้น บาท
ขอมีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
2. ผลปฏิบัติงาน ( ด้านที่ 3 ) มีดังนี้
ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในสาขา/สาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เสนอ
ขอรับการประเมินของปีปัจจุบัน
- ชื่อวิชาที่สอน การงานอาชีพและเทคโนโลยี ( งานเกษตร)
- คะแนนทีเฉลี่ย ( Average T score ) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน =
- คะแนนทีเฉลี่ย (Average T score ) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน =
1.2 ค่าทีเฉลี่ย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสาขา/สาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอน
- คะแนนทีเฉลี่ย ( Average T score ) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาที่แล้ว =
- คะแนนทีเฉลี่ย ( Average T score ) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาปัจจุบัน =
1.3 ผลการประเมินและหรือการทดสอบของสาขา/สาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอนในระดับเขต/ประเทศ
- คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินและหรือการทดสอบของสาขาสาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอนในระดับเขต/ประเทศ ปีการศึกษาที่ผ่านมา = “”””””””
- คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินและหรือการทดสอบของสาขาสาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ทสี่ อนในระดับเขต/ประเทศ ปีการศึกษาปัจจุบัน = -
2. ผลการพัฒนาผู้เรียนด้านอื่นๆ
ผลการพัฒนาผู้เรียนด้านอื่นๆ ปีการศึกษา 2552 ปีการศึกษา 2553
จำนวนผู้เรียน สาขาวิชา งานเกษตร จำนวน คน จำนวน คน
ผู้เรียนมีการพัฒนาด้านสุขภาพ ร่างกาย สติปัญญา
อารมณ์ และสังคมตามหลักสูตรและตามที่สถานศึกษา
กำหนด ในระดับ ดี จำนวน คน คิดเป็นร้อยละ จำนวน คน คิดเป็นร้อยละ
ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรและตามที่สถานศึกษากำหนดในระดับดี
จำนวน คน คิดเป็นร้อยละ จำนวน คน คิดเป็นร้อยละ
3. ปริมาณและสภาพของงาน
3.1 ปริมาณงาน สายงานการสอน
จำนวนชั่วโมงที่สอน (คาบ) ที่สอน ชั่วโมง / สัปดาห์
ปฏิบัติการสอน ระดับมัธยมตอนต้น ( ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 )
ดังนี้
- กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ( งานเกษตร)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1
- กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ( งานเกษตร)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2
- กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ( อังกฤษ )ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
- กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ( อังกฤษ )ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1
- กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ( อังกฤษ )ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2
- กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ( อังกฤษ )ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1
- กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ( อังกฤษ )ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2
- กิจกรรมชมรมภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
- กิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์รุ่นกลาง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีท1ี่ -3
จำนวนผู้เรียนที่สอน รวมทั้งสิ้น คน
ปฏิบัติหน้าที่ ครูที่ปรึกษา
- ครูที่ปรึกษาชมรมภาษาอังกฤษระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
- ครูที่ปรึกษากลมุ่ ยุวเกษตรกร
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่รับผิดชอบ
หัวหน้าหมวดกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์รุ่นกลาง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ
1 ) หัวหน้าบริหารงานวิชาการโรงเรียน
2) ประธานอนุกรรมการกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (อังกฤษ)
3) คณะอนุกรรมการกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
4) การจัดระบบควบคุมภายในหน่วยงาน
5) งานสัมพันธ์กับชุมชน หมู่ บ้าน
6) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
7) การส่งเสริมและประสานงานการจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ
และตามอัธยาศัย
8) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
9) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้
10) การประสานร่วมมือการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น
11) การแนะแนวการศึกษา
12) การจัดทำสำมะโนผู้เรียน
13) งานประชาสัมพันธ์งานการศึกษา
14) งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
15) งานแผนงาน
3.2 สภาพของงาน
􀀲 รับผิดชอบนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ
􀀲 รับผิดชอบนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษหลากหลายประเภทความพิการและ
มีลักษณะอาการรุนแรง
􀀲 รับผิดชอบนักเรียนที่มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจ/วัฒนธรรม
􀀲 สถานศึกษาตั้งอยู่บนพื้นที่ปกติ
􀀲 สถานศึกษาตั้งอยู่ในพื้นที่ภูเขา หรือเกาะหรือติดกับรอยตะเข็บชายแดน
􀀲 สถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษ เช่น กันดาร เสี่ยงภัย ตามประกาศ
ของทางราชการ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ผลงานทางวิชาการที่เสนอเพื่อขอรับการประเมิน
1. เสนอผลงานทางวิชาการ จำนวน 1 เรื่อง ดังนี้
“””””””””””
2. ลักษณะการจัดทำ
􀀲 จัดทำแต่เพียงผู้เดียว จำนวน 1 รายการ ได้แก่……….
􀀲 จัดทำร่วมกับผู้อื่นในรูปคณะทำงานหรือกลุ่ม จำนวน “”””””” รายการ
ได้แก่
3. การนำผลงานทางวิชาการไปใช้
3.1 นำผลงานทางวิชาการไปเผยแพร่ลงเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อให้เพื่อนครูได้นำไปเป็นตัวอย่าง ในการอ้างอิงข้อมูลงานวิจัย
3.2 เป็นฐานข้อมูลเบื้องต้นในการจัดทำรายงานการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในเรื่อง.......
3.3 ครูผู้สอนสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) สามารถนำนวัตกรรม ดังกล่าวไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนในเรื่อง........... ได้เป็นอย่างดี เหมาะอย่างยิ่งสำหรับโรงเรียนที่ขาดความพร้อมใน
ด้านการใช้สื่อ ไอซีที สามารถช่วยผู้เรียนได้ศึกษาและทำความเข้าใจด้วยตนเองได้เป็นอย่างดี
4. การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
4.1 ลงเผยแพร่ผลงานในเว็บไซต์ ......... ซึ่งผู้รายงานเป็นทีมงานผู้เขียนบทความกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
4.2 เผยแพร่กับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
4.3 ลงเผยแพร่ผลงานในเว็บไซต์ส่วนตัว
4.4. ลงเผยแพร่ผลงานในเว็บไซต์ทางการศึกษา
4.5 เผยแพร่ผลงาน ในการอบรมเชิงปฏิบัติการสถานที่ต่างๆ
3. ผลงานทางวิชาการที่เคยได้รับอนุมัติ เพื่อกำหนดตำแหน่งและแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนในระดับ
ที่สูงขึ้น หรือให้มีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะที่สูงขึ้น
􀀲 ไม่มี
4. งานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ ที่เคยเสนอเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อขอรับปริญญาหรือ
ประกาศนียบัตร หรือเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรม
􀀲 มี ชื่องานวิจัย ........... เมื่อ (พ.ศ. ) ...........
ขอรับรองว่าข้อมูลดังกล่าวข้างต้นถูกต้อง และเป็นความจริง

(ลงชื่อ) ผู้ขอรับการประเมิน
( ................................................... )
ตำแหน่ง ครูโรงเรียน..................................
วันที่ “””” เดือน .............. พ.ศ. “”””””””

การตรวจสอบและรับรอง
การตรวจสอบและรับรองของผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
ได้ตรวจสอบแล้วรับรองว่าข้อมูลถูกต้องและเป็นความจริง
(ลงชื่อ)
( …………………………………….. )
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน................................
วันที่ ….. เดือน >>>>.>>>>> พ.ศ. ……..

บทคัดย่อ การขยายพันธุ์พืช

ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาเอกสารประกอบการสอนเรื่อง การขยายพันธุ์พืช

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2

ผู้ศึกษา นางสาวอารดา พันธ์วิไล

ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ

หน่วยงาน โรงเรียนอมรินทราวารี

ปีที่ศึกษา 2553

บทคัดย่อ

เอกสารประกอบการสอน เป็นสื่อการสอนอีกรูปแบบหนึ่งที่เอื้ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียนเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยเฉพาะเรื่องทักษะ ความสามารถ ความเข้าใจ แรงจูงใจ ความมีวินัยในตนเอง ความสามารถในการแก้ปัญหา ตามทฤษฎีการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์ (Skinner)

การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการสอน เรื่อง การขยายพันธุ์พืช

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ที่มีประสิทธิภาพ ตาม

เกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการสอน เรื่อง การขยายพันธุ์พืช

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 3) เพื่อเปรียบเทียบ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการสอน

เรื่อง การขยายพันธุ์พืช กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2

และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสาร

ประกอบการสอน เรื่อง การขยายพันธุ์พืช กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนอมรินทราวารี อำเภอปราสาท สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม

ศึกษาสุรินทร์เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวนนักเรียน 22 คน ได้มาแบบเจาะจง

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ประกอบการสอน เรื่อง การขยายพันธุ์พืช จำนวน 6 เล่ม

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40

ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ -1.00 ถึง 1.00 มีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.80 และ ค่า

ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสาร

ประกอบการสอนแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มี

ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.29 ถึง 0.86 และ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้

วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบสมมุติฐานใช้การ

ทดสอบค่าที t-test แบบ Dependent Samples

ผลการศึกษาพบว่า

1. เอกสารประกอบการสอน เรื่อง การขยายพันธุ์พืช กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.05 / 87.16 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของประกอบการสอน เรื่อง การขยายพันธุ์พืช กลุ่มสาระการ

เรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 มีค่าเท่ากับ 0.8086 หมายความว่า เอกสารประกอบการสอนทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.8068 หรือ คิดเป็นร้อยละ 80.68

3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ประกอบการสอน เรื่อง การขยายพันธุ์พืช กลุ่มสาระการ

เรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 มีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการ

เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนอมรินทราวารี มีความพึงพอใจต่อ

การเรียนรู้ด้วยประกอบการสอน เรื่อง การขยายพันธุ์พืช กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ

เทคโนโลยี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

โดยสรุป ประกอบการสอน เรื่อง การขยายพันธุ์พืช กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลต่อผู้เรียนอย่างแท้จริง

สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุผลการเรียนรู้ตัวชี้วัดที่

คาดหวัง และแก้ปัญหาการขาดสื่อการสอนได้เป็นอย่างดี