เวลา...เป็นสิ่งเดียวในโลก ที่ทุกคนได้รับเสมอกัน ไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันเลยแม้แต่คนเดียว ..แต่ใครจะใช้เวลาในแต่ละวินาทีอย่างมีค่า และคุ้มค่ากว่ากัน..นี่แหละ..เป็นเรื่องน่าคิด

เวลานั้นสำคัญไฉน

โชคชัย แซ่เฮ็ง
เราสามารถสัมผัสได้ถึงการผ่านพ้นไปของเวลาได้ด้วยประสบการณ์และการสังเกตสิ่งที่อยู่รอบข้าง เรารู้สึก คิด และอยู่ภายใต้การเคลื่อนที่ของเวลา อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ กล่าวไว้ว่า "มิติ และเวลา สามารถรับรู้ด้วยความคิด ไม่ใช่เพราะเราเป็นอยู่" ดังนั้น การที่เรารู้จักค่าของเวลา ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของนาฬิกา หรือปฏิทิน ถือเป็นสิ่งที่มนุษย์ค้นพบ การวัดค่าของเวลา เป็นศาสตร์มาตั้งแต่อารยธรรมโบราณ ต่อเนื่องมาจนกระทั่งปัจจุบัน มนุษย์โครมันยอง รู้จักสังเกตและบันทึกการเปลี่ยนแปลงดิถีของดวงจันทร์ตั้งแต่ราว ๓๐,๐๐๐ ปีที่ผ่านมา ในขณะที่หน่วยของเวลาเพิ่งเริ่มต้นนับได้อย่างแม่นยำราว ๔๐๐ ปีที่ผ่านมา และนาฬิกาอะตอมซึ่งให้ความแม่นยำในระดับ ๑ ใน ล้านของวินาทีเพิ่งจะมีไม่ถึง ๕๐ ปีเท่านั้น การกำหนดเทียบเวลานั้นเป็นทั้งเลนส์ที่ส่องถึงปรากฏการณ์ที่มนุษย์สังเกตเห็นบนฟากฟ้า และยังเป็นทั้งกระจกที่สะท้อนถึงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และอารยธรรมของมวลมนุษยชาติ เป็นเวลากว่าพันปีแล้วที่มนุษย์พยายามที่จะหาหน่วยสำหรับการวัดและสอบเทียบเวลา จะเห็นได้ว่าสิ่งนั้นไม่ว่าจะเป็นอุปกรณือะไรก็แล้วแต่ ล้วนมีความหมายที่จะพยายามเทียบเกณฑ์ดังกล่าวเข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่มีการเคลื่อนที่เป็นรอบหรือวัฎจักรทั้งสิ้น สิ่งแวดล้อมนั้นอาจเป็นได้ทั้งโลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หรือดาวฤกษ์ ขึ้นกับว่าอารยธรรมหรือยุคสมัยนั้นให้ความสำคัญกับสิ่งใดมากกว่า
ยุคอียิปต์โบราณ
ตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ เมื่อครั้งที่มนุษย์นับถือดวงอาทิตย์และท้องฟ้าเป็นพระเจ้า ชาวอียิปต์ได้สังเกตความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์รอบโลกกับการท่วมตลิ่งของแม่น้ำไนล์ในแต่ละปี ซึ่งเป็นสัญญาณเข้าสู่ฤดูกาลใหม่นั้น ชาวอียิปต์สามารถนับวันได้เท่ากัน ๓๖๕ วันต่อรอบ ถือเป็นต้นกำเนิดของช่วงเวลา ๑ ปีมีค่าเท่ากับ ๓๖๕ วันขึ้นเป็นครั้งแรก ต่อมาการสังเกตดังกล่าวได้ละเอียดขึ้นเมื่อชาวอียิปต์ได้เริ่มสังเกตการเคลื่อนที่ของดาวโจร หรือดาวซีริอัส ซึ่งเป็นดาวที่สุกสว่างตอนกลางคืน และพบว่า ในวันที่ครบรอบปีในแต่ละปีนั้น ดาวซีริอัสจะเคลื่อนที่มาช้ากว่าเดิมไปประมาณ ๖ ชั่วโมง หรือประมาณ ๑ ใน ๔ วันต่อปี ดังนั้น ชาวอียิปต์จึงได้ปรับปรุงให้ ๑ ปี มีค่าเพิ่มขึ้นเป็น ๓๖๕.๒๕ วัน นอกจากนี้ราว ๑,๖๐๐ ปีก่อนคริสตศักราช ชาวอียิปต์ได้สร้างนาฬิกาแดดขึ้นเพื่อใช้บอกเวลาในแต่ละวัน โดยอ้างอิงเวลากับการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์รอบโลกในแต่ละวัน แต่นาฬิกาแดดก็มีข้อจำกัดที่จะใช้งานได้ก็ต่อเมื่อมีแสงแดดเท่านั้น และนาฬิกาแดดที่สร้างขึ้นจากที่หนึ่งไม่สามารถใช้อ้าอิงกับอีกสถานที่หนึ่งได้ อ่านต่อคลิก

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

คุนเปนคนเก่งมากค่ะ